วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลมหุบเขาและลมภูเขา เอลนีโญและลานีญา

ลมหุบเขาและลมภูเขา
เรียบเรียงโดย . . . สัมพันธ์ ไทยเครือวัลย์

ลมหุบเขา (Anabatic wind) เป็นลมที่พัดจากหุบเขาขึ้นไปสู่ยอดเขา เกิดขึ้นในเวลากลางวันเมื่อบริเวณลาดเขาได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้อากาศบริเวณดังกล่าวร้อนกว่าบริเวณใกล้เคียงที่ระดับความสูงเดียวกัน และลอยตัวสูงขึ้นในขณะที่อากาศบริเวณรอบข้างจะไหลเข้ามาแทนที่เกิดเป็นลมที่พัดขึ้นไปตามลาดเขา
ส่วนลมภูเขา (Katabatic wind) เป็นลมที่พัดจากยอดเขาลงสู่หุบเขา เกิดขึ้นในเวลากลางคืนที่มีท้องฟ้าแจ่มใส เนื่องจากอากาศบริเวณลาดเขาไหลลงมาแทนที่อากาศบริเวณหุบเขาที่ร้อนกว่า เกิดเป็นลมพัดจากยอดเขาลงสู่หุบเขา ตามปกติแล้วลมภูเขาจะมีกำลังอ่อนเมื่อเทียบกับลมหุบเขา แต่อย่างไรก็ตามในฤดูหนาวลมภูเขานี้อาจมีความแรงได้ โดยเฉพาะในบริเวณภูเขาสูง
ลมภูเขาและลมหุบเขา สามารถทำให้เกิดกระแสอากาศที่ปั่นป่วนได้ในบริเวณเทือกเขา ดังนั้นเครื่องบินเล็กๆ เช่น เฮลิคอปเตอร์จึงควรระมัดระวังอันตรายจากความแปรปรวนของลมที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อบินผ่านบริเวณเทือกเขาสูงๆ และสลับซับซ้อน
***********


เอลนีโญและลานีญา
เรียบเรียงโดย . . . สัมพันธ์ ไทยเครือวัลย์

เอลนีโญ (El Nino) คือ ปรากฏการณ์ที่ผิวน้ำทะเลทางตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อนอุ่นขึ้น และแผ่ขยายกว้างไกลออกไป เป็นระยะเวลานานถึง 3 ฤดูกาลหรือมากกว่า ในทางกลับกันถ้าผิวน้ำทะเลบริเวณดังกล่าวเย็นลงจะเรียกว่า ลานีญา (La Nina)
ในช่วงที่เกิดเอลนีโญ สภาพภูมิอากาศบางบริเวณจะผันแปรไปจากปกติ กล่าวคือ บริเวณที่เคยมีฝนชุกจะกลับแห้งแล้ง และบริเวณที่เคยแห้งแล้งจะมีฝนตกชุก เช่น ประเทศอินโดนีเซียจะเกิดความแห้งแล้งผิดปกติจากฤดูกาลที่เคยมีฝนชุก ในขณะที่บริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งปกติแห้งแล้งกลับมีฝนตกชุก
เมื่อเกิดเอลนีโญขนาดรุนแรงขึ้นเมื่อใด ปริมาณฝนของประเทศไทยมักมีค่าต่ำกว่าปกติ และอุณหภูมิของอากาศจะสูงกว่าปกติ เช่น เอลนีโญขนาดรุนแรง ปี พ.ศ. 2540 ถึง 2541 ประเทศไทยประสบกับสภาวะความแห้งแล้ง มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติทั่วประเทศ ส่วนผลกระทบจากลานีญาจะตรงข้ามกับเอลนีโญ เช่น ลานีญาที่เกิดขึ้นปี พ.ศ. 2542 ถึง 2543 ประเทศไทยมีฝนชุกกว่าปกติ และอุณหภูมิในฤดูหนาวลดลงทำลายสถิติหลายจังหวัดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542
สำหรับข้อมูลสถิติอากาศ รวมทั้งพยากรณ์อากาศตามภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย ตลอดจนปรากฏการณ์เอลนีโญนั้น สามารถค้นหาเพิ่มเติมจากเว็บไซด์ของกรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th
***********

ต้องขอขอบคุณท่านสัมพันธ์ ไทยเครือวัลย์ นักอุตุนิยมวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา ที่เอื้อเฟื้อบทความความรู้ดังกล่าว

ประกาศเตือนภัย เรื่อง "ดีเปรสชันเขตร้อน 11W” ฉบับที่ 2

Tropical Depressio 11W # 2 - : ประกาศเตือนภัย เรื่อง "ดีเปรสชันเขตร้อน 11W” ฉบับที่ 2
ประกาศศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น ฮาวาย, สหรัฐฯ (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
สภาวะโดยทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อนเมื่อเวลา 01.00น.
ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ออกประกาศเวลา 04.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
ภาพถ่ายดาวเทียมบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคด้านตะวันตกตอนเหนือ ทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย วันที่ 26 กรกฎาคม 2554 / 04.00 น. ปรากฎพายุหมุนเขตร้อน 2 ลูก / หย่อมความกดอากาศต่ำ 0 ลูก
1) Tropical Depression 11W (11W,5.7N 145.6E,30kts) : เมื่อเวลา 19.00น.วานนี้(25ก.ค.2554) หย่อมความกดอากาศตำ่กำลังเเรง 94W ซึ่งมีศูนย์กลางปกคลุมกลุ่มเกาะไมโครนิเซีย ล่าสุด ได้พัฒนาเป็น ดีเปรสชันเขตร้อน 11W เเล้ว ล่าสุดเมื่อ 01.00นวันนี้(26ก.ค.654) อยู่ที่ละติจูด 5.7องศาเหนือ ลองจิจูด 145.6 องศาตะวันออก หรือมีศูนย์กลางอยู่ทางทิศใต้จากฐานทัพอากาศอันเดอร์เซน ห่ างประมาณ 833 กิโลเมตร. กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันนตกค่อนทางเหนือด้วยความเร็ว 4 นอต( 7กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา . มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 30 นอต(56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ลมกระโชกแรงสูงสุดประมาณ 40นอต(74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวน้ำทะเลประมาณ 1000 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ xx เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา.... / คาด ช่วง 12-24 ชั่วโมงข้างหน้านี้ ดีเปรสชันเขตร้อน 11W จะมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันุเฉียงเหนือมากกขึ้น คาดว่าจะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน ในอีก 12 ชั่วโมงข้างหน้า โดยมีเเนวโน้มพัฒนาเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ช่วง 30 ก.ค.54 นี้ : ประกาศศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
2) Tropical Depression 10W (11W,14.7N 124.4E,30kts) : เมื่อเวลา 01.00น.วันนี้(26ก.ค.2554) ดีเปรสชันเขตร้อน 11W ซึ่งมีศูนย์กลางปกคลุมทะเลฟิลลิปปินส์ ล่าสุด อยู่ที่ละติจูด 14.7องศาเหนือ ลองจิจูด 124.4 องศาตะวันออก หรือมีศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิิปินส์ ห่ างประมาณ 370 กิโลเมตร. กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันนตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 13 นอต( 24กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา . มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 30 นอต(56 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ลมกระโชกแรงสูงสุดประมาณ 40นอต(74 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวน้ำทะเลประมาณ 1000 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ xx เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา.... / คาด ช่วง 12-24 ชั่วโมงข้างหน้านี้ ดีเปรสชันเขตร้อน 10W จะมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันุเฉียงเหนือมากกขึ้น คาดว่าจะพัฒนาเป็นพายุโซนร้อน ในอีก 12 ชั่วโมงข้างหน้า ก่อนที่จะเคลื่อนตัวฝั่งเกาะลูซอน ตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ จากนั้นพายุจะเคลื่อนตัวลงสูทะเลจีนใต้มุ่งหน้าไปยังเกาะไหหลำ ประเทศจีนตอนใต้ เเละเวียตามในช่วง 29-31 ก.ค.54 นี้ : ประกาศศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
3) Tropical Diisturbance 95W (11W,9.0N 154.0E,15kts) : เมื่อเวลา 01.00น.วันนี้(26ก.ค.2554) หย่อมความกดอากาศตำ่ 95W ซึ่งมีศูนย์กลางปกคลุมกลุ่มเกาะไมโครนิเซีย ล่าสุด อยู่ที่ละติจูด 9.0องศาเหนือ ลองจิจูด 154.0 องศาตะวันออก หรือมีศูนย์กลางอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้จากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิิปินส์ ห่ างประมาณ - กิโลเมตร. กำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันนตกค่อนทางเหนือด้วยความเร็ว 5 นอต(9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) เมื่อ 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา . มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 15 นอต(28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ลมกระโชกแรงสูงสุดประมาณ 25นอต(46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ความกดอากาศที่พื้นผิวน้ำทะเลประมาณ 1010 มิลลิบาร์ คลื่นทะเลสูงสุดประมาณ xx เมตรในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา.... / คาด ช่วง 12-24 ชั่วโมงข้างหน้านี้ ดหย่อมความกดอากาศตำ่ 95W จะมีทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันุเฉียงเหนือมากกขึ้น ยังไม่มีเเนวโน้มพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนใน 24-72 ชั่วโมงข้างหน้านี้ : ประกาศศูนย์ร่วมการเตือนภัยไต้ฝุ่น (Joint Typhoon Warning Center หรือ JTWC )
<เพิ่มเติม/ความเห็น> …. ดีเปรสชันเขตร้อน ฯ 10W เเละ 11W โดย 10W มีเเนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยตอนบน 30 เปอร์เซนต์ พา่ยุลูกนี้คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน ตอนบนของประเทศฟิลิิปปินส์ 27-28 ก.ค.54 นี้ จากนั้นจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนมุ่งหน้าไปยังเกาะไหหนาน ทางตอนใต้ของประเทศจีน ประเทศเวียตนามตามลำดับ อย่างไรก็ตาม หากว่าพายุนี้หลุดทะลมายังอ่าวตังเกี๋ย คาดว่าพายุนี้จะเริ่มส่งผลต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ทำให้ลมมรสุมพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ เเละอ่าวไทยเริ่มมีกำลังเเรงขึ้นในช่วง 30 ก.ค.- 06 ส.ค.54 นี้ ... จึงขอให้ติดตามพายุลูกนี้อย่างใกล้ชิด ... สำหรับ 11W มีเเนวโน้มมุงหน้าไปยังญี่ปุ่นช่วง ต้นเดือน สิงหาคมนี้ ไม่มีเเนวโน้มเคลื่อนมายังประเทศไทยเเต่อย่างใต ... /สำหรับวงสีเขียวคือบริเวณที่มีแนวโน้มพัฒนาเป็นพายุหมุนเขตร้อนในอนาคต (ถ้ามี)
ที่มา:กรมอุตุนิยมวิทยา  26 ก.ค.54

วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ย้อนรอยเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงในรอบ 50 ปี

สำนักข่าวเอพีได้รวบรวมสถิติจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ทั่วโลกในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา เรียงจากครั้งล่าสุดไป
วันที่ 8 ต.ค. 2548 แคว้นแคชเมียร์ในปากีสถาน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.6 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 18,000 ศพ
วันที่ 28 มี.ค. 2548 เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.7 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 1,000 ศพ
วันที่ 26 ธ.ค. 2547 เกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 9.0 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 176,000 ศพ ใน 11 ประเทศจากแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์สึนามิ
วันที่ 26 ธ.ค. 2546 เมืองบาม ประเทศอิหร่าน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.5 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 26,000 ศพ
วันที่ 21 พ.ค. 2546 ภาคเหนือของประเทศแอลจีเรีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.8 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 2,300 ศพ
วันที่ 25 มี.ค. 2545 ภาคเหนือของประเทศอัฟกา  นิสถาน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.8 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 1,000 ศพ
วันที่ 26 ม.ค. 2544 รัฐกุจรัต ประเทศอินเดีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.9 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 2,500 ศพ แต่คาดการณ์ว่าตัวเลขน่าจะสูงถึง 13,000 ศพ
วันที่ 21 ก.ย. 2542 เกาะไต้หวัน วัดแรงสั่นสะเทือน ได้ 7.6 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 2,400 ศพ
วันที่ 17 ส.ค. 2542 ภาคตะวันตกของประเทศตุรกี วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.4 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 17,000 ศพ
วันที่ 25 ม.ค. 2542 ภาคตะวันตกของประเทศโคลัมเบีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.0 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 1,171 ศพ
วันที่ 30 พ.ค. 2541 ภาคเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน และทาจิกิสถาน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.9 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 5,000 ศพ
วันที่ 17 ม.ค. 2538 เมืองโกเบของญี่ปุ่น วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.2 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 6,000 ศพ
วันที่ 30 ก.ย. 2536 เมืองลาตูร์ ประเทศอินเดีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.0 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 10,000 ศพ
วันที่ 21 มิ.ย. 2533 ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.3-7.7 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 50,000 ศพ
วันที่ 7 ธ.ค. 2531 ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เมเนีย วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 6.9 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 25,000 ศพ
วันที่ 19 ก.ย. 2528 ภาคกลางของประเทศเม็กซิโก วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.1 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 9,500 ศพ
วันที่ 16 ก.ย. 2521 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอิหร่าน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.7 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิตกว่า 25,000 ศพ
วันที่ 28 ก.ค. 2519 เมืองถังชาน ประเทศจีน วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.8-8.2 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 240,000 ศพ
วันที่ 4 ก.พ. 2519 ประเทศกัวเตมาลา วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 7.5 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 22,778 ศพ
วันที่ 29 ก.พ. 2503 ชายฝั่งด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศโมร็อกโก วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 5.7 ริคเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 12,000 ศพ เมืองอากาเดียร์พังราบ

ภูเขาไฟระเบิด
๑.ภูเขาไฟระเบิด  เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๕๔ ได้เกิดเหตุภูเขาไฟระเบิดในภูมิภาคโลสริโอสและโลสลาโกส ทางตอนใต้ของชิลี ห่างจากกรุงซันติอาโก ประมาณ ๘๐๐กม. โดยรัฐบาลชิลีได้ประกาศเตือนภัยระดับสูงสุด และได้อพยพคนในพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนประมาณ ๓,๕๐๐ คน โดยเถ้าถ่านจากภูเขาไฟได้ลอยข้ามไปยังอาร์เจนตินา ส่งผลให้ท่าอากาศยานเมือง Bariloche ของอาร์เจนตินาต้องปิดการให้บริการแล้ว
2. ภูเขาไฟ Grimsvotn ในไอซ์แลนด์ปะทุ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ และก่อให้เกิดเถ้าธุลีปกคลุมไปทั่วประเทศต่าง ๆ ในยุโรป

สามเหลี่ยมชีวิต ทางรอดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

สามเหลี่ยมชีวิต  ทางรอดเมื่อเกิดแผ่นดินไหว

TEN TIPS FOR EARTHQUAKE SAFETY
สิบวิธีเพื่อความปลอดภัยยามแผ่นดินไหว
1) เกือบทุกคนที่ "มุดและหาที่กำบัง" เมื่ออาคารถล่มถูกทับอัดจนตาย คนที่เข้าไปอยู่ใต้สิ่งของ อาทิ โต๊ะหรือรถยนต์ถูกอัดทับ

2)
แมว หมา และเด็กทารก โดยธรรมชาติมักจะขดตัวในท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา คุณควรทำเช่นกันในกรณีแผ่นดินไหว มันเป็นสัญชาติญาณเพื่อความปลอดภัย/รักษาชีวิต คุณสามารถมีชีวิตรอดในช่อง ว่างที่เล็กกว่า ไปอยู่ข้างๆ สิ่งของ ข้างเก้าอี้โซฟา ข้างของหนักๆ ชิ้นใหญ่ๆ ที่จะบี้แบนไปบ้างแต่ยังเหลือที่ว่างข้างๆ มันไว้

3)
อาคารไม้เป็นสิ่งก่อสร้างที่ปลอดภัยที่สุดที่จะอยู่ภายในขณะแผ่นดินไหว ไม้มีความยืดหยุ่นและเคลื่อนตัวตามแรงของแผ่นดินไหว ถ้าอาคารไม้จะถล่มจะเกิดช่องว่างขนาดใหญ่เพื่อช่วยชีวิต และอาคารไม้ ยังมีน้ำหนักทับทำลายที่เป็นอันตรายน้อยกว่า อาคารอิฐจะแตกพังเป็นก้อนอิฐมากมาย ก้อนอิฐเหล่านี้เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บ แต่จะทับอัดร่างกายน้อยกว่าแผ่นคอนกรีต


4)
หากคุณกำลังนอนอยู่บนเตียงตอนกลางคืนและเกิดแผ่นดินไหว เพียงกลิ้งลงจากเตียง ช่องว่างที่ปลอดภัยจะเกิดรอบๆ เตียง โรงแรมจะสามารถเพิ่มอัตราผู้รอดชีวิตจากแผ่นดินไหวได้ โดยเพียงติดป้ายหลังประตูในทุกห้องพักบอกให้ผู้เข้าพักนอนราบกับพื้นข้างๆ ขาเตียงระหว่างแผ่นดินไหว


5)
หากมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นและคุณไม่สามารถหนี้ออกมาง่ายๆ ทางประตูหรือหน้าต่าง ก็ให้นอนราบและขดตัวในท่าทารกในครรภ์ข้างๆ เก้าอี้โซฟาหรือเก้าอี้ตัวใหญ่ๆ


6)
เกือบทุกคนที่อยู่ตรงช่องประตูตอนตึกถล่มไม่รอด เพราะอะไร? หากคุณยืนอยู่ตรงช่องประตูและวงกบประตูล้มไปข้างหน้าหรือข้างหลัง คุณจะโดนเพดานด้านบนตกลงมาทับ หากวงกบประตูล้มออกด้านข้างคุณจะถูกตัดเป็นสองท่อนโดยช่องประตู ไม่ว่ากรณีไหน คุณไม่รอดทั้งนั้น!


7)
อย่าใช้บันไดเด็ดขาด บันไดมี "ช่วงการเคลื่อนตัว" ที่แตกต่างไป (บันไดจะมีการแกว่งแยกจากตัวอาคาร) บันไดและส่วนที่เหลือของตัวอาคารจะชนกระแทกกันอย่างต่อเนื่องจนเกิดปัญหากับโครงสร้างของบันได คนที่อยู่บนบันไดก่อนที่บันไดจะถล่มถูกตัดเป็นชิ้นโดยขั้นบันได--ถูกแยกส่วนอย่างน่าสยดสยอง ถึงอาคารจะไม่ถล่มก็ควรอยู่ห่างบันไดไว้ บันไดเป็นส่วนของอาคารที่มีโอกาสถูกทำให้เสียหาย ถึงแม้แผ่นดินไหวจะไม่ได้ทำให้บันไดถล่ม มันอาจถล่มในเวลาต่อมาเมื่อรับน้ำหนักมากเกินไปจากคนที่กำลังหนี้ มันควรได้รับการตรวจสอบความปลอดภัยเสมอ ถึงแม้ส่วนที่เหลือของอาคารจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม


8)
ไปอยู่ใกล้กำแพงด้านนอกของอาคารหรือออกจากอาคารถ้าเป็นไปได้ จะเป็นการดีกว่ามากที่จะอยู่ใกล้ส่วนนอกของอาคารมากกว่าจะอยู่ที่ส่วนในของอาคาร คุณยิ่งอยู่ลึกเข้าไปหรือไกลจากบริเวณภายนอกของอาคารมากเท่าไหร่ โอกาสที่ทางหนีของคุณจะถูกปิดกั้นยิ่งมีมาก


9)
คนที่อยู่ภายในรถยนต์ถูกทับอัดเมื่อถนนด้านบนตกลงมาเพราะแผ่นดินไหวและทับรถของพวกเขา นี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับแผ่นคอนกรีตระหว่างชั้นของถนนหลวงนิมิทซ์ ผู้เคราะห์ร้ายทั้งหมดจากแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกอยู่ในรถของตัวเอง พวกเขาตายทั้งหมด พวกเขาสามารถมีชีวิตรอดได้ง่ายๆ ด้วยการออกจากรถและนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างๆ รถตัวเอง คนที่ตายทุกคนอาจรอดได้ถ้าพวกเขาสามารถออกจากรถ และนั่งหรือนอนราบอยู่ข้างรถตัวเอง รถที่ถูกทับอัดทุกคันมีช่องว่างสูง 3 ฟุตอยู่ข้างๆ ยกเว้นรถที่ถูกเสาคาดตกทับกลางคันรถ


10)
ผมค้นพบ--ขณะที่คลานเข้าไปในซากสำนักงานหนังสือพิมพ์และสำนักงานอื่นที่มีกระดาษจำนวนมาก--ว่ากระดาษไม่อัดตัว จะพบช่องว่างขนาดใหญ่รอบๆ กองกระดาษที่เรียงทับซ้อนกัน

ทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรม

คือธรรมสำหรับพระราชา ในการใช้พระราชอำนาจและการบำเพ็ญประโยชน์ต่ออาณาประชาราษฎร มี ๑๐ ประการ ดังนี้

๑. ทาน หรือการให้ หมายถึงการพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ การทรงเสียสละพระกำลังในการปกครอง แผ่นดิน การพระราชทานพระราชดำริอันก่อให้เกิดสติปัญญาและพัฒนาชาติ การพระราชทานเสรีภาพอันเป็นหัวใจแห่งมนุษย์

๒. ศีล หรือการตั้งและทรงประพฤติพระราชจรรยานุวัตร พระกาย พระวาจา ให้ปราศจากโทษ ทั้งในการปกครอง อันได้แก่ กฎหมายและนิติราชประเพณี และในทางศาสนา อันได้แก่ เบญจศีลมาเสมอ

๓. บริจาค ได้แก่ การที่ทรงสละสิ่งไม่เป็นประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยเพื่อสิ่งที่ดีกว่า คือ เมื่อถึง คราวก็สละได้ แม้พระราชทรัพย์ ตลอดจนพระโลหิต หรือแม้แต่พระชนม์ชีพ เพื่อรักษาธรรมและพระราชอาณาจักรของ พระองค์

๔. ความซื่อตรง (อาชชวะ) ได้แก่ การที่ทรงซื่อตรงในฐานะที่เป็นผู้ปกครอง ดำรงอยู่ในสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อ พระราชสัมพันธมิตร และอาณาประชาราษฎร

๕. ความอ่อนโยน (มัททวะ) หรือเคารพในเหตุผลที่ควร ทรงมีสัมมาคารวะต่อผู้อาวุโสและอ่อนโยนต่อบุคคลที่ เสมอกันและต่ำกว่า

๖. ความเพียร (ตบะ) หรือความเพียรที่แผดเผาความเกียจคร้าน คือ การที่พระมหากษัตริย์ทรงตั้งพระราชอุตสาหะปฏิบัติพระราช กรณียกิจให้เป็นไปด้วยดี โดยปราศจากความเกียจคร้าน

๗. ความไม่โกรธ (อักโกธะ) หรือความไม่แสดงความโกรธให้ปรากฎ ไม่พยายามมุ่งร้ายผู้อื่นแม้จะลงโทษผู้ทำผิดก็ทำตามเหตุผล และสำหรับ พระมหากษัตริย์นั้นต้องทรงมีพระเมตตาไม่ทรงก่อเวรแก่ผู้ใด ไม่ทรงพระพิโรธโดยเหตุที่ไม่ควร และแม้จะทรงพระพิโรธ ก็ทรงข่มเสียให้สงบได้

๘. ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ทรงมีพระราชอัธยาศัย กอปรด้วยพระมหากรุณา ไม่ทรงก่อทุกข์หรือเบียดเบียนผู้อื่น ทรงปกครอง ประชาชนดังบิดาปกครองบุตร

๙. ความอดทน (ขันติ) คือ การที่ทรงมีพระราชจริยานุวัตร อันอดทนต่อสิ่งทั้งปวง รักษาพระราชหฤทัย และพระอาการ พระกาย พระวาจา ให้เรียบร้อย

๑๐. ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนะ) คือ การที่ทรงตั้งอยู่ในขัตติยราชประเพณี ไม่ทรงประพฤติผิดจากพระราชจริยานุวัตร นิติศาสตร์ ราชศาสตร์ ไม่ทรงประพฤติให้คลาดจากความยุติธรรม ทรงอุปถัมภ์ยกย่องคนที่มีความชอบ ทรงบำราบคนที่มีความผิดโดย ปราศจากอำนาจอคติ ๔ ประการ และไม่ทรงแสดงให้เห็นด้วยพระราชหฤทัยยินดียินร้าย

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาดำเนินให้เกิดผล  และเพื่อให้ข้าราชการเป็นแบบอย่างแก่ประชาชนทั่วไป  อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาล ซึ่งบริหารบนพื้นฐานของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  รวมถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ซึ่งใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นกรอบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
 ประเด็นของการเรียนรู้ ประกอบด้วย
1. การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แนวพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพระบรมราโชวาทที่เกี่ยวข้อง
2. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10
3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการน้อมนำมาใช้ในภาคส่วนต่างๆ
4. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับข้าราชการ
5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบข้าราชการ
1.  หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
“...ในการพัฒนาประเทศนั้นจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐาน คือ ความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อน  ด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง    แต่ถูกต้องตามหลักวิชา  เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้นมั่นคงพอสมควรแล้ว  จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลำดับต่อไป
...การถือหลักที่จะส่งเสริมความเจริญ ให้ค่อยเป็นไปตามลำดับด้วยความรอบคอบระมัดระวังและประหยัดนั้น ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาดล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จได้แน่นอนบริบูรณ์...”

( พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 )

จะเห็นได้ว่าพระองค์ทรงสอนให้เราอยู่อย่างพอกินพอใช้ ให้ประหยัด รอบคอบ  และระมัดระวัง  เมื่อมีพื้นฐานที่มั่นคงแล้วก็ค่อยพัฒนาต่อไปตามลำดับขั้น

นอกจากนี้พระบรมราโชวาทขององค์นี้ ก็ยังมีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสอีกหลายองค์  ที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้พระราชทานไว้  อันเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่ง อันจะยังผลให้ประเทศของเรารอดพ้นจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นทั่วโลก
“...ขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน  มีความสงบและทำงานตั้งอธิษฐาน  ตั้งปณิธานในทางนี้  ที่จะให้เมืองไทยอยู่แบบพออยู่พอกิน ไม่ใช่ว่าจะรุ่งเรืองอย่างยอด  แต่ว่ามีความพออยู่พอกิน  มีความสงบเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ถ้าเรารักษาความพออยู่พอกินนี้ได้  เราจะยอดยิ่งยวดได้...
ฉะนั้นถ้าทุกท่านซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความคิดและมีอิทธิพล  มีพลัง ที่จะทำให้ผู้อื่น ซึ่งมีความคิดเหมือนกัน ช่วยกันรักษาส่วนรวมให้อยู่ดีกินดีพอสมควร  ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบ ไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้จากเราไปได้ ก็จะเป็นของขวัญวันเกิดที่ถาวร  ที่จะมีคุณค่าอยู่ตลอดกาล...”

 พระราชดำรัสองค์นี้ได้พระราชทานเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่  23  ธันวาคม  พ.ศ. 2542 ซึ่งพระองค์ได้ทรงเน้นย้ำอีกว่าให้พวกเราพออยู่พอกิน

จริงๆ แล้วยังมีพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสอีกหลายองค์ ที่ล้วนมีค่ายิ่งที่พวกเราควรจะได้ยึดและปฏิบัติตาม  ผมเชื่อว่าเมื่อพวกเราได้เรียนรู้ จะสามารถน้อมนำสิ่งที่พระองค์ได้พระราชทานมาเป็นแนวทางในการทำงานและดำเนินชีวิตได้เป็นอย่างดี

 ความหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
 หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทุกวันนี้  ทุกคนต่างก็พูดถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่ท่านทราบหรือไม่ ว่าจริงๆแล้ว หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น คืออะไร มีหลักการอย่างไรบ้าง และใครสามารถนำหลักปรัชญานี้ไปใช้ได้บ้าง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้  อย่างที่ได้กล่าวไว้ตั้งแต่เบื้องต้นว่า  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานชี้แนะแก่พสกนิกรชาวไทย เมื่อประมาณ 33 ปีมาแล้ว  แล้วก็ทรงชี้แนะพวกเราอีกหลายๆครั้งด้วยกัน  ดังปรากฏในพระราชดำรัส และพระบรมราโชวาทในโอกาสต่างๆ  และเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้ว ประเทศไทยเผชิญกับวิกฤตทางเศรษฐกิจ ก็ยิ่งเป็นการ พิสูจน์และเน้นย้ำว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น สามารถน้อมนำมาประยุกต์ใช้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศเราได้เป็นอย่างดี

เมื่อคราววิกฤตเศรษฐกิจนั้น เศรษฐกิจแบบค้าขายเพียงอย่างเดียวนั้น ไม่สามารถทำให้เราสามารถพึ่งพาตนเองได้ทั้งหมด ต้องพึ่งพาคนอื่นหรือประเทศอื่นๆ อย่างเช่น ขับรถเราก็ต้องพึ่งพาน้ำมัน  แต่น้ำมันเราต้องนำเข้าจากตะวันออก เป็นต้น เวลาที่น้ำมันแพง พวกเราก็เดือดร้อนกันไปทั่ว  ไม่ใช่แต่คนที่ต้องขับรถใช้น้ำมันอย่างเดียว เพราะว่าน้ำมันแพง ข้าวของเครื่องใช้บางอย่างก็แพงขึ้นด้วย

ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร  เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์  ความพอเพียง  หมายถึง  ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร  ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลง ทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้  ความรอบคอบ  และความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่างๆ   มาใช้ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน  และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ  นักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับ  ให้มีสำนึกในคุณธรรม  ความซื่อสัตย์สุจริต  และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม  ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน  ความเพียร  มีสติปัญญาและความรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และกว้างขวาง  ทั้งด้านวัตถุ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

 จะเห็นได้ว่าหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา   ดังนั้นทุกๆ คนก็สามารถนำไปใช้กับตนเอง  ครอบครัว  สังคม  จนถึงระดับประเทศได้ ไม่ว่าจะเป็น ทหาร  พลเรือน  ประชาชน  คนรวย คนจน สามารถเอามาประยุกต์ใช้กันได้หมด

 แนวคิดของหลักเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ การตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง  ไม่ประมาท  โดยที่จะต้องคำนึงถึงความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ  และคุณธรรม  ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง  ซึ่งทั้งหมดนี้รวมกันเป็นหลักที่ปฏิบัติได้    

ขอเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ที่พระราชทานในโอกาส วันเฉลิมพระชนมพรรษา  เมื่อวันที่  4  ธันวาคม  พ.ศ. 2541  มาให้ท่านได้เรียนรู้กันอีกครั้งหนึ่ง

“...คำว่าพอเพียงมีความหมายกว้างออกไปอีก  ไม่ได้หมายถึง  การมีพอสำหรับใช้เท่านั้น  แต่มีความหมายว่าพอมีพอกิน... พอมี พอกินนี้ก็แปลว่า เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง...”

“ ...ให้พอเพียงนี้ก็หมายความว่า มีกินมีอยู่  ไม่ฟุ่มเฟือย  ไม่หรูหรา ก็ได้  แต่ว่าพอ  แม้บางอย่างอาจจะดูฟุ่มเฟือย  แต่ถ้าทำให้มีความสุข  ถ้าทำได้ก็สมควรจะทำ  สมควรที่จะปฏิบัติ … ”

“...Self-sufficiency (พึ่งตนเอง) นั้นหมายความว่า ผลิตอะไร  มีพอที่จะใช้  ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น  อยู่ได้ด้วยตนเอง...”

“...แต่พอเพียงนี้  มีความหมายกว้างขวางยิ่งกว่านี้อีก  คือคำว่า พอก็พอเพียง  เพียงนี้ก็พอ ดังนั้นเอง  คนเราถ้าพอใจในความต้องการ  ก็มีความโลภน้อย  เมื่อมีความโลภน้อย  ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย ถ้าทุกประเทศมีความคิด – อันนี้ไม่ใช่เศรษฐกิจ – มีความคิดว่าทำอะไรต้องพอเพียง  หมายความว่า พอประมาณ  ไม่สุดโต่ง  ไม่โลภอย่างมาก  คนเราก็จะอยู่อย่างเป็นสุข...”

(พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา  4  ธันวาคม  พ.ศ. 2541)
ต่อไปขอให้ทุกท่านได้เรียนรู้จากการให้สัมภาษณ์ของ ดร. สุเมธ  ตันติเวชกุล  เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา  เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ท่านได้อธิบายเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไว้สรุปได้ว่า ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วยความพอประมาณ  ซึ่งหมายถึง  ความพอดี  ไม่น้อยและไม่มากเกินไปจนต้องเบียดเบียนตนเองและคนอื่น  ความมีเหตุผล  หมายถึง  การตัดสินใจในระดับของความพอเพียงนั้น  จะต้องเป็นไปอย่างความมีเหตุผล  โดยต้องพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว  หมายถึง  การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
 โดยจะต้องมีเงื่อนไข 2 ประการ คือ เงื่อนไขความรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย  ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ อย่างรอบด้าน  ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณา  เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ  เงื่อนไขคุณธรรม  ประกอบไปด้วยความตระหนักในคุณธรรม  มีความซื่อสัตย์สุจริต  มีความอดทน  มีความเพียร  ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต  ไม่โลภ  ไม่ตระหนี่  ช่วยเหลือแบ่งปันผู้อื่น  ทั้งหมดนี้  จะนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน  พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ  สังคม  สิ่งแวดล้อม  ความรู้และเทคโนโลยี
2. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
   หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ยังได้บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ด้วย โดยได้มุ่งเน้นในเรื่องสังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน  มุ่งสร้างความสุขให้คนไทย และสังคมไทยอย่างยั่งยืน

เราลองมาเรียนรู้จากการให้สัมภาษณ์ของ ดร.อำพน  กิตติอำพน  ท่านพูดถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  เกี่ยวกับการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 10 และจะมีความสำคัญต่อการแก้วิกฤตประเทศอย่างไร 

เมื่อเริ่มจัดทำแผนนั้น  ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ได้ทำการศึกษาหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  แล้วจึงได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในภาวะของโลกปัจจุบันเพื่อวางยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศขึ้นมา  โดยทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ทำการวิเคราะห์ 5 บริบทของการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ ไว้ 5 ประการดังนี้

1. การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก
2. การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด
3. การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม
4. การเคลื่อนย้ายคนอย่างเสรี
5. การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 ในการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 จึงได้วางยุทธศาสตร์ในการจัดทำแผนพัฒนาประเทศขึ้นมา 5  ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย

1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทยสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
2. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของประเทศ
3. ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้างความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
5. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศ

 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10ได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้โดยเน้นในเรื่องของความสุขของคนในสังคมไทยอย่างยั่งยืน  โดยได้น้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้  เป็นแนวทางเพื่อสร้างความสุขอันยั่งยืนนั้นให้กับประเทศไทย

3. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่างๆ
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการน้อมนำมาใช้ในภาคส่วนต่างๆ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้น  สามารถนำมาใช้กับทุกคน ทุกหน่วยงาน และทุกๆภาคส่วน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าใครจะไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไร  หากทุกคนมาร่วมกันน้อมนำหลักปรัชญาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้  ก็น่าจะช่วยให้ประเทศไทยของเรามีความสุขสงบได้
ซึ่งในขณะนี้ก็ได้มีฝ่ายต่างๆ มาช่วยกันขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่แพร่หลาย  และนำไปสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมและปฏิบัติให้เกิดผลอย่างจริงจัง  เนื่องจากเศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยส่งเสริมให้ระบบเศรษฐกิจเสรีมีการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ  มีความสมดุล  มีความยั่งยืนมากขึ้น  ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีรากฐานที่มั่นคง 
ในส่วนภาคเกษตร  และภาคเอกชนเอง จะนำเอาหลักเศรษฐกิจพอเพียง ไปประยุกต์ใช้กับได้อย่างไร

ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง  ด้านองค์กรธุรกิจเอกชน  ในส่วนของภาคเอกชนนั้นได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างไร

ดร. อาชว์   เตาลานนท์  ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านองค์กรธุรกิจเอกชน  ท่านได้เปรียบเทียบหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการขับรถยนต์  ซึ่งในการขับรถก็จะมีอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คันเร่ง  เบรก  น้ำมัน  ซึ่งเวลาเราขับรถจะใช้อย่างใดอย่างหนึ่งในการขับไม่ได้  เราจะเหยียบคันเร่งตลอดไม่ได้  ต้องมีผ่อน  มีลดความเร็ว  ต้องใช้เบรกและเพื่อความปลอดภัย  ก็ควรเร่งความเร็วให้พอประมาณ เหตุผล  นั่นก็คือต้องมีสติ  และต้องมีความระมัดระวัง  ซึ่งนั่นก็คือ หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขนั่นเอง

 ท่านยังได้บอกถึงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับองค์กรเอกชนว่า ฝ่ายบริหารจะต้องกำหนดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นนโยบายของบริษัท  และต้องปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมตั้งแต่ฝ่ายบริหารจนถึงระดับพนักงาน  นอกจากนี้ก็ต้องทำธุรกิจด้วยความมีคุณธรรม  จริยธรรม ด้วยเช่นกัน ไม่นึกถึงแต่กำไรเพียงอย่างเดียวและต้องคำนึงถึงใจพนักงาน  รวมถึงเข้าใจลูกค้าด้วย  นอกจากนี้แล้ว ธุรกิจต้องเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  ต้องคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันในสังคม  ทั้งคน  สังคม  และสิ่งแวดล้อม

เมื่อได้เรียนรู้จากภาคธุรกิจไปแล้ว  ขอให้ท่านได้เรียนรู้ทางด้านภาคเกษตร  คุณลุงสำรอง  แตงพลับ  เป็นเกษตรกรดีเด่น  และเพิ่งได้รางวัลเกษตรกรผู้ผลิตผลผลิตทางการเกษตรปลอดสารพิษ  อันดับหนึ่งของประเทศ  ซึ่งทางจังหวัดเพชรบุรีส่งเข้าประกวด 

ท่านได้นำเอาหลักมาใช้กับการทำงานของภาคส่วนของท่านอย่างไร และท่านได้บอกวิธีในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับชีวิตของท่านจนประสบความสำเร็จจนได้เป็นเกษตรกรตัวอย่าง

คุณลุงสำรองนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง และแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้กับงานของท่านเอง  จากเดิมที่มีหนี้สินมากมาย  มีบ้านหลังเล็กที่ไม่สามารถกันฝนได้  จนกระทั่งหมดหนี้  มีบ้านหลังใหญ่และมีรถปิ๊กอัพขับ  แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังคงใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  ท่านก็ยังได้ฝากบอกด้วยว่า  ข้าราชการสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้ เช่นกัน โดยต้องไม่หลง หรือโลภ  มีเงินเดือนน้อยก็ต้องใช้ให้พอด้วยการอดออมประหยัด

 หลังจากที่ได้เรียนรู้จากบุคคลต่างๆในแต่ละภาคส่วนที่ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้กับการทำงานในแต่ละด้าน  ท่านคงจะเห็นแล้วว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น  เป็นปรัชญาที่เป็นสากล เนื่องจากไม่ได้จำกัดการนำไปประยุกต์ใช้กับส่วนใดส่วนหนึ่ง  หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเท่านั้น  แต่ทุกภาคส่วนสามารถนำไปใช้ได้โดยปรับให้เหมาะสมกับการทำงาน  และสิ่งแวดล้อมในงานของแต่ละส่วน

4. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับข้าราชการ
 สำหรับในบริบทการบริหารงานภาครัฐซึ่งประกอบด้วยบทบาทบุคลากรของรัฐ และ บทบาทประชาชน นั้นจะสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้ อย่างไร
คุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์ ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้สรุปได้ว่า

ข้าราชการต้องปฏิบัติหน้าที่โดยจะต้องอยู่บนหลักของความพอประมาณ  การพอประมาณไม่ใช่ทำแต่น้อยให้พอเสร็จๆไป แต่พอประมาณ หมายถึง การประเมินความสามารถของเราว่ามีแค่ไหน  แล้วทำให้เต็มที่กับความสามารถที่เรามี  นอกจากนี้เราจะต้องมีเหตุมีผล  ต้องมีการวิเคราะห์และไตร่ตรองทุกครั้งเมื่อทำงาน  รวมทั้งต้องสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้กับตนเอง

 การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับตนเองได้โดยไม่ยากเลย ซึ่งท่านก็ได้เล่าว่าในสิ่งที่ท่านได้ปฏิบัติในชีวิตประจำวันเราต้องบริหารกิเลสตัณหา  อย่าให้กิเลสตัณหามาบริหารเรา  ใช้ชีวิตอย่างมีสติ  สิ่งใดที่ไม่ได้เป็นสิ่งจำเป็น  ก็ไม่จำเป็นต้องหามาเพื่อสนองความอยากความต้องการของตัวเอง  ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้มีประโยชน์กับตัวท่านเอง  ซึ่งถ้าเราสามารถปฏิบัติได้ก็จะสามารถเป็นตัวอย่างให้กับครอบครัว  ทำให้ครอบครัวของท่านปฏิบัติตามได้ด้วย

นอกจากนี้นายปรีชา  วัชราภัย  เลขาธิการก.พ. ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้ สรุปได้ว่าข้าราชการนั้นจะต้องพยายามทำความเข้าใจกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้ถ่องแท้  เพื่อที่จะได้ปฏิบัติราชการได้ด้วยการคำนึงถึงความพอเพียงทั้งในการใช้ความรู้  ความสามารถของตน  และสามารถใช้ชีวิตอย่างพอเพียง  มีการคิดดี  พูดดี  ทำดี  และปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต  และตระหนักถึงถึงความเป็นข้าราชการที่ดี  เพื่อที่จะได้เป็นแบบอย่างที่ดีในสังคม

การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับตัวข้าราชการ  ในฐานะที่เป็นบุคลากรของรัฐ

ในมุมมองของคุณหญิงทิพาวดี   เมฆสวรรค์ได้กล่าวว่า หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น สามารถประยุกต์ใช้ได้กับคน  ทุกระดับ ทุกอาชีพ  ดังนั้นพวกเราข้าราชการก็สามารถน้อมนำมาใช้สำหรับชีวิตประจำวันของพวกเราได้เช่นกัน  ด้วยการนำหลักพอเพียง  พอประมาณ  มีเหตุมีผล  รวมถึงหลักภูมิคุ้มกันที่ดีมาใช้กับตนเองด้วย การประหยัด  อดออม  มีน้อยใช้น้อย  ไม่ใช้จ่ายเกินตัว

5. หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับระบบราชการ
 สำนักงาน ก.พ. ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในการที่จะให้ส่วนราชการต่างๆ รวมถึงเหล่าข้าราชการได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในส่วนราชการ ใน 2 หัวข้อใหญ่ คือ

1. เรื่องของการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์
2. เรื่องการจัดทำแผนงาน
ในเรื่องของการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์นั้น   ต้องตั้งอยู่ในหลักของเหตุและผล  รวมทั้งให้ประเมินศักยภาพของหน่วยงานของเราว่าทำอะไร  มีหน้าที่อะไร และใครเป็นผู้รับบริการ  ซึ่งหน่วยงานต้องพิจารณาให้ดีว่า นโยบายหรือกลยุทธ์ของหน่วยงานของเราสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่ต้องการรับบริการหรือไม่

ส่วนเรื่องของการจัดทำแผนงานนั้น  ต้องตั้งอยู่บนหลักพอประมาณโดยต้องประเมินศักยภาพของหน่วยงานของเราว่าจะทำตามแผนงานได้เท่าใด  และจะทำได้อย่างไร  ดังนั้นจึงต้องไม่วางแผนจนเกินตัวจนไม่สามารถทำได้จริง  รวมถึงให้ใช้ความสามารถและทรัพยากรของหน่วยงานของเราได้อย่างเต็มที่

อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญที่สามารถน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้ก็คือ เรื่องของการบริหารงานบุคคล

ในส่วนราชการ  การบริหารงานบุคคลนั้นได้มีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ด้วย  เราแบ่งงานด้านการบริหารงานบุคคลออกเป็น 4 ด้านด้วยกัน ก็คือ

1. การสรรหา
2. การพัฒนา
3. การรักษาไว้
4. การใช้ประโยชน์

สำนักงาน ก.พ. แนะแนวทางและการประยุกต์ใช้กับงานบริหารงานบุคคล  สรุปได้ดังนี้
ในเรื่องของการสรรหา แต่งตั้ง และบรรจุข้าราชการนั้น  เราสามารถใช้หลักการของ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างครบถ้วน นับตั้งแต่
การสรรหาบุคคลนั้น  จะต้องดำเนินการสรรหาตามหลักการของระบบคุณธรรม คือ ผู้ที่ดำเนินการสรรหา จะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม  ไม่มีอคติ  หรือเอนเอียง  เข้าข้างผู้เข้ารับการสรรหาคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ

หลักต่อมาจะต้องใช้หลักของความมีเหตุผล คือ ต้องใช้เหตุและผลในการคัดเลือกบุคคล  เพื่อให้ได้คนที่มีความรู้ความสามรถจริงๆ เข้ามารับราชการ

ส่วนในหลักของความพอประมาณนั้นคือ การดำเนินการในกระบวนการสรรหาที่คุ้มค่า  ไม่สิ้นเปลื้อง  แต่สามารถคัดเลือกบุคคลที่เป็นคนดี  คนเก่ง  เข้ามารับราชการได้  นี่เป็นในส่วนของการสรรหาบุคคลเข้ารับราชการ

สำหรับในเรื่องของการพัฒนาบุคลากร ขอให้ยึดหลักของความมีเหตุมีผล นั่นคือ ให้พัฒนาข้าราชการตามความจำเป็น และควรมีการศึกษาความต้องการในการพัฒนาก่อน  เพื่อที่ได้รับรู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้ที่ต้องเข้ารับการพัฒนา  และไม่ต้องเสียงบประมาณไปในเรื่องที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนา

อีกหนึ่งหลักที่ใช้ได้ก็คือ หลักของการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี นั่นคือ ข้าราชการที่ได้รับการพัฒนาแล้วจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องมีคุณธรรม เช่น  ขยัน  อดทน  พากเพียร ซื่อสัตย์สุจริต  ทั้งนี้จะได้มีความสามารถที่จะรับรองการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้และพร้อมรับมือกับปัญหาหรือวิกฤตตลอดจนสามารถหาวิธีในการแก้ปัญหาที่ถูกต้องและเหมาะสมได้

ในหัวข้อการรักษาไว้นั้น  สามารถใช้หลักความมีเหตุมีผล  โดยการให้สิ่งจูงใจในการทำงาน 

ที่ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์โดยพื้นฐานได้  รวมทั้งให้สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการควรจะได้รับ  รวมถึงหลักประกันที่มั่นคงในการทำงาน  แต่ทั้งนี้ต้องมีเหตุผลในการให้ไม่ใช่ให้เพราะเป็นคนที่เราชอบ หรือเป็นพวกเราแต่ต้องให้เพราะบุคคลนั้นสมควรที่จะได้รับจริงๆ อย่างนี้จึงจะเรียกว่ามีเหตุผลในการให้

ในการใช้ประโยชน์จากบุคลากร  ควรเริ่มกันตั้งแต่การแต่งตั้ง คือ การแต่งตั้งบุคคลให้เหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่  รวมทั้งการมอบหมายงานก็ควรชัดเจน  ถูกต้อง  และเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของบุคคลนั้น ต้องมีการประเมินสมรรถนะของบุคคลที่เราต้องการใช้ประโยชน์จากข้าราชการแต่ละคนและต้องสร้างสมดุลในชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวให้กับข้าราชการด้วย

ส่วนในเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับระบบราชการ  และในเรื่องของการบริหารการเงิน  สรุปออกมาเป็นประเด็นดังนี้  ในเรื่องของการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีนั้น  ต้องมีหลักประกันในเรื่องของการการพิทักษ์ระบบคุณธรรม  โดยต้องมีกลไกในการที่จะปกป้องข้าราชการให้ได้รับความเป็นธรรมในด้านต่างๆ รวมทั้งต้องสร้าง  และพัฒนาข้าราชการให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้วย

ส่วนการบริหารการเงินของส่วนราชการนั้นต้องตระหนักว่า

1. ต้องใช้งบประมาณอย่างสมเหตุสมผล  เพราะต้องไม่ลืมว่างบประมาณนั้นเป็นเงินของแผ่นดินที่ได้มาจากประชาชนผู้เสียภาษีและนำมาจัดสรรให้ข้าราชการนำมาใช้จ่ายเพื่อพัฒนาประเทศ
2. ต้องใช้งบประมาณนั้นโดยมุ่งให้เป็นประโยชน์ที่สูงสุดกับประเทศชาติและประชาชน
3. ต้องมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเหมาะสม  ลดหลั่นกันไปตามความจำเป็น
4. ต้องมีเหตุผลในการจ่ายงบประมาณ

ในการเรียนรู้เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับการบริหารงานบุคคลในด้านต่างๆ จะขอสรุปในภาพรวมให้ท่านได้เรียนรู้  โดยแบ่งออกมาเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ การบริหารจัดการภายในส่วนราชการและส่วนที่สอง คือ การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในราชการ

สำหรับการบริหารจัดการภายในส่วนราชการนั้น  เราสามารถน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นองค์ความรู้เพื่อวางรากฐานการบริหารจัดการในส่วนราชการให้เป็นไปโดยสุจริต  เป็นธรรม  โปร่งใส  และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน  อำนวยประโยชน์ให้เกิดกับประชาชนได้อย่างแท้จริงตลอดไป  และจะเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ส่วนราชการในการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 8 ด้าน ดังต่อไปนี้

ด้านที่ 1.  การบริหารจัดการระบบข้อมูลของส่วนราชการ
ด้านที่ 2. การบริหารจัดการระบบการสื่อสารของส่วนราชการ
ด้านที่ 3.  การบริหารจัดการระบบการตัดสินใจของส่วนราชการ
ด้านที่ 4.  การบริหารจัดการระบบการตรวจสอบถ่วงดุลของส่วนราชการ
ด้านที่ 5.  การบริหารจัดการระบบการมีส่วนร่วมของส่วนราชการ
ด้านที่ 6.  การบริหารจัดการระบบการบริการประชาชนของส่วนราชการ
ด้านที่ 7. การบริหารจัดการระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ
ด้านที่ 8   การบริหารจัดการความเสี่ยงของส่วนราชการ

 ด้านที่ 1 การบริหารจัดการระบบข้อมูลของส่วนราชการ  ในด้านนี้จะให้ส่วนราชการจัดทำระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารงานของส่วนราชการให้มีลักษณะดังนี้

1. ข้อมูลครอบคลุมพื้นที่ทั้งในระดับต่างๆ เช่น ชุมชน  ตำบล  อำเภอ  จังหวัด และประเทศ
2. ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและมีการปรับปรุงแก้ไขอยู่เสมอ
3. ข้อมูลต้องมีความทันสมัยพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงสามารถเชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่าย  นำไปใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว

สำหรับการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการระบบข้อมูลของส่วนราชการจะต้องดำเนินการและนำไปใช้งานด้วยความรอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวังอย่างมีสติ  มีเหตุ มีผล  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาวะและความต้องการของประเทศ  มีความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ด้านที่ 2 คือ การบริหารจัดการระบบการสื่อสารของส่วนราชการ  แต่ละส่วนราชการต้องจัดทำระบบการสื่อสาร  เพื่อใช้ในการบริหารงานของส่วนราชการ ดังนี้

1. ควรจัดให้มีระบบการสื่อสารภายในและภายนอกของส่วนราชการให้มีประสิทธิภาพ อย่างเช่น  ให้มีระบบเสียงตามสาย  ระบบ E-mail และ Internet สำหรับงานระบบงานสารบรรณก็ควรจัดให้มีการ  On-Line ทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
2. ให้มีระบบการสื่อสารสองทาง  ระหว่างองค์การกับประชาชนเป้าหมาย  โดยมีเนื้อหาที่เป็นสารประโยชน์  นำเสนออย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่างๆ อย่างเช่น ข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการ  การป้องกันโรคติดต่อ  การป้องกันอัคคีภัยและเพื่อการประชาสัมพันธ์  ทำความเข้าใจให้ความรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง  ในรูปของเอกสาร จดหมายข่าว  หนังสือพิมพ์  วิทยุ  โทรทัศน์ เป็นต้น
สำหรับการน้อมนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาใช้ในการบริหารจัดการระบบการสื่อสารของส่วนราชการนั้น  จะต้องดำเนินการด้วยความรอบรู้  รอบคอบ  ระมัดระวัง  มีคุณธรรม  มีเหตุมีผล  ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  และทำให้ส่วนราชการมีการพัฒนาที่สมดุล  มั่นคง  และยั่งยืน

ด้านที่ 3  การบริหารจัดการระบบการตัดสินใจมาใช้ในการบริหารงานของส่วนราชการ  โดยยึดหลักการดังนี้
1. หลักประชาธิปไตย คือ รับฟังเสียงประชาชน  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ  ผู้บริหาร  และหน่วยงานข้างเคียง  เพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยเสนอความเห็นได้ร่วมในการตัดสินใจ  ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ  ลดความสูญเสียด้านเวลา  ความคิด  แรงงาน  ลดความขัดแย้งในการทำงานที่จะเกิดขึ้น
2. ในการบริหารจัดการระบบการตัดสินใจของส่วนราชการนั้น  การมอบอำนาจและกระจายอำนาจจะเป็นไปในรูปของคณะกรรมการ  คณะทำงานที่มุ่งประสิทธิภาพ  ทันต่อสถานการณ์  และสัมฤทธิผล  เป็นธรรม  ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างรอบรู้  ได้ข้อมูลจากทุกฝ่าย
การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้การบริหารจัดการระบบการตัดสินใจของส่วนราชการจะต้องทำด้วยความรอบคอบ  ระมัดระวัง  มีความซื่อสัตย์สุจริต  ถูกต้อง  โปร่งใสและการบริหารงานมีความเป็นธรรม  โปร่งใส่  มีเหตุผล  มุ่งผลสัมฤทธิ์  ทันต่อเหตุการณ์  และเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะ

ด้านที่ 4  คือ  ในการบริหารจัดการระบบการตรวจสอบถ่วงดุลของส่วนราชการมาใช้ในการบริหารงาน  ควรให้ส่วนราชการทำดังนี้
1.  มีการตรวจสอบถ่วงดุลเกี่ยวกับแผนงาน เช่น ให้มีปฏิทินการจัดทำแผนงานประจำปี  มีการพิจารณาแผนงานตั้งแต่ระดับล่างถึงระดับบน  และแก้ไขปรับปรุงได้  และเป็นไปตามความต้องการของประชาชน  ตรวจสอบผลงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย  และตรวจสอบการบริหารภายในเกี่ยวกับบัญชีการเงิน  การใช้งบประมาณ  การใช้ทรัพยากรของทางราชการให้ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการ
2.  ควรมีระบบผู้ตรวจการ คือ ให้มีผู้ตรวจราชการกรมและกระทรวงต่างๆ ตรวจสอบผลการปฏิบัติงานตามแผนงาน  การใช้จ่ายงบประมาณ  โดยใช้ภาคเอกชนและประชาชนมีสิทธิในการตรวจสอบเรื่องดังกล่าว

 ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบการตรวจสอบถ่วงดุลของส่วนราชการ  จะต้องดำเนินด้วยความรอบรู้ รอบคอบ  ระมัดระวัง  ซื่อสัตย์สุจริต  เพื่อให้การดำเนินงานของส่วนราชการเป็นไปด้วยความมีเหตุมีผล  มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  เกิดความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน

 ด้านที่ 5  คือ การบริหารจัดการระบบการมีส่วนร่วมของส่วนราชการ  ต้องให้ส่วนราชการจัดทำระบบการมีส่วนร่วมมาใช้ในการบริหารงาน ดังนี้

1. ให้ผู้รับบริการและหน่วยงานข้างเคียงจากสภาพแวดล้อมภายนอกได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิดร่วมวางแผน  ตัดสินใจ  ร่วมทำ  ติดตาม ประเมินผล  ร่วมรับผิดชอบและปรับปรุงแก้ไข  โดยจะต้องระดมพลังจากทุกฝ่ายดำเนินการเรื่องดังกล่าว
2.  ให้สมาชิกองค์การและผู้บริหารในหน่วยงาน  มีโอกาสได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปรึกษาหารือเกี่ยวกับสภาพปัญหา การแก้ไขปัญหา  และพัฒนาวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานตามภารกิจของส่วนราชการซึ่งจะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ  รอบรู้  ระมัดระวัง ตัดสินใจ  ดำเนินการอย่างมีสติปัญญา  มีเหตุผล  มีคุณธรรม  เกิดภูมิคุ้มกันที่ดี  ทำให้การบริหารจัดการในส่วนราชการเป็นไปอย่างสมดุล  มั่นคงยั่งยืน  พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง

การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบการมีส่วนร่วมของส่วนราชการจะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ  รอบรู้  ระมัดระวัง  ตัดสินใจ  ดำเนินการอย่างมีสติปัญญา  มีเหตุผล  มีคุณธรรม  เกิดภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ทำให้การบริหารจัดการในส่วนราชการเป็นไปอย่างสมดุล  มั่นคง ยั่งยืน  พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง
 ด้านที่ 6 คือ การบริหารจัดการระบบการบริการประชาชนของส่วนราชการ  ต้องให้ส่วนราชการจัดระบบการให้บริการประชาชนที่มีประสิทธิภาพ  รวดเร็ว  เสียค่าบริการที่เหมาะสมพอคุ้มทุน  ไม่หวังผลกำไร  มีความพร้อมในการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง บริการทั่วถึงเพียงพอต่อเนื่อง  เป็นธรรม เสมอภาค  ไม่เลือกปฏิบัติ  สุจริต โปร่งใส รับผิดชอบ เป็นที่พึงพอใจของผู้รับบริการ

 ในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการระบบการบริการประชาชนของส่วนราชการนั้น  จะต้องดำเนินการด้วยความรอบรู้  ระมัดระวัง  รอบคอบ  ขยัน  อดทน  มีความเพียร   พอประมาณ  มีคุณธรรม  เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  มีความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน

ด้านที่ 7 คือ คือ การบริหารจัดการระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการ จะต้องประกอบด้วย
1. ประสิทธิภาพเพื่อดูผลิตภาพต่อหน่วย  กำลังคน ผลิตภาพต่อเวลา
2. ประสิทธิผลเพื่อดูการบรรจุเป้าหมายเทียบกับค่าใช้จ่าย
3. ความก้าวหน้าเพื่อดูสัดส่วนกิจกรรมที่แล้วเสร็จ
4. ความประหยัดเพื่อดูจำนวนทรัพยากรการจัดการที่ประหยัดได้
5. ความพึงพอใจเพื่อดูความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการ
6. ความสอดคล้องเพื่อดูปัญหากับมาตรการแก้ไขว่าตรงกัน  และสนองตอบต่อกลุ่มเป้าหมายหรือไม่
7. สัมฤทธิผลเพื่อดูการบรรลุเป้าหมายสุดท้าย
8. ผลกระทบเพื่อดูผลกระทบ ด้านสังคมจิตวิทยา  สิ่งแวดล้อมที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา
9. ความยังยืนเพื่อดูความสามารถในการอยู่รอดได้ในเชิงเศรษฐกิจและโอกาสในการขยายผลซึ่งการดำเนินการดังกล่าว
ทำให้ส่วนราชการมีความรอบรู้ถึงผลการปฏิบัติงานมีความรอบคอบในการปฏิบัติงานมากขึ้น  และปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง  ซื่อสัตย์สุจริต มีเหตุผล มีความพอประมาณ มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มีความสมดุล มั่นคง ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงและสามารถก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์

ด้านที่ 8 คือ การบริการจัดการความเสี่ยงของส่วนราชการ
ส่วนราชการศึกษาจะต้องสำรวจและระบุหรือกำหนดว่าส่วนราชการมีความเสี่ยงจากปัจจัยในส่วนราชการที่เป็นไปได้ว่ามีอะไรบ้างที่เกิดขึ้นในอดีต และที่อาจจะเกิดขึ้นว่ามีความรุนแรงและผลกระทบอย่างไรบ้าง เช่น ความเสี่ยงเกี่ยวกับการโยกย้ายบุคลากรหรือบุคลากรขาดทักษะในการปฏิบัติงานและขาดการพัฒนาฝึกอบรม  การเปลี่ยนผู้บริการบ่อยก็มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะจะทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่อง นอกจากนี้ก็ยังมีความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ฯลฯ เพื่อให้ส่วนราชการวางแผนจัดการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  โดยดำเนินการด้วยความรอบรู้ รอบคอบ    ระมัดระวัง มีความอดทน พากเพียรในการปฏิบัติงาน ต้องใช้สติปัญญาในการดำเนินการและสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้กับส่วนราชการ จะทำให้ส่วนราชการเกิดความมั่นคงปลอดภัยพร้อมรับกับภัยอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

ในด้านการบริหารงานทรัพยากรบุคคลภาครัฐในราชการนั้น  จะเห็นได้ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  สามารถน้อมนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารทรัพยากรบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะครอบคลุมทั้งในเรื่อง ความมีเหตุผล ความพอประมาณ และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

 1. การวางแผนทรัพยากรบุคคล
ในการวางแผนทรัพยากรบุคคลนั้นเราสามารถทำได้โดยอันดับแรก
 1.1 เราต้องศึกษาวิจัยจำนวนกำลังคนหรือบุคคลและความสามารถทักษะของบุคคลที่ต้องการในส่วนราชการ เพื่อให้การทำงานของส่วนราชการบรรลุเป้าหมาย
 1.2  จัดทำแผนรองรับกำลังคนที่ต้องการหรือที่ขาดหายไป และเป็นที่ต้องการของส่วนราชการ
 1.3  สร้างโอกาสการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน โดยไม่คำนึงถึงเพศ ฐานะ หรือภูมิลำเนา
 1.4  ลดจำนวนกำลังคนที่มีมากเกินไป
ในการวางแผนทรัพยากรบุคคลนั้นส่วนราชการจะต้องดำเนินการด้วยความรอบรู้  รอบคอม ระมัดระวัง มีเหตุผล สร้างความเป็นธรรม เสมอภาค โปร่งใส เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี  ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   ทำให้ส่วนราชการมีการวางแผนทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสม และสามารถดำเนินการตามภารกิจจนเกิดผลสัมฤทธิ์

 2. การสรรหา
 สำหรับหัวข้อการสรรหานั้น ส่วนราชการควรดำเนินการสรรหาบุคคลเข้าทำงาน ดังนี้
  2.1 ศึกษาและดำเนินการสรรหาบุคคลให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบทุกขั้นตอนที่กำหนดไว้ ด้วยความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง
  2.2    สรรหาบุคคลโดยวิธีจากภายในและภายนอก ควรใช้เหตุผล ความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ เพื่อให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพียงพอในการทำงานให้แก่ส่วนราชการ
  2.3    ดำเนินการสรรหาบุคคล ต้องยึดนโยบายโปร่งใส เสมอภาค เป็นธรรม ซื่อสัตย์สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและตรวจสอบได้

สำหรับวิธีในการดำเนินการรับสมัครควรปฏิบัติดังนี้

1. ส่วนราชการจะต้องประกาศรับสมัครให้ทุกคนทราบอย่างทั่วถึงและเปิดเผย
2. จะต้องประกาศล่วงหน้าให้ทราบอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 10 วันทำการ โดยใช้สื่อที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
3. ต้องตรวจสอบคุณสมบัติและประสบการณ์ของบุคคลด้วยความรอบคอบและถูกต้อง หากเป็นการสรรหาจากบุคคลภายใน  ส่วนราชการควรแจ้งให้บุคคลทราบก่อนประกาศเป็นทางการและบุคคลที่เป็นข้าราชการอยู่ในระหว่างการลาควรได้รับการแจ้งให้ทราบตามสิทธิด้วย
4. ควรให้มีการรับสมัคร ทดลองให้คัดเลือกอย่างสม่ำเสมอ
5. ควรให้โอกาสในการสรรหาแก่ผู้ด้อยโอกาส ชนกลุ่มน้อย  สตรี และผู้สูงอายุ โดยอาจใช้หลักเกณฑ์เฉพาะที่ยืดหยุ่นตามความต้องการของส่วนราชการ โดยอยู่บนพื้นฐานของความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง เสมอภาค โปร่งใส เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 

 3.  การคัดเลือก
สำหรับการคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการ  ส่วนราชการต้องดำเนินการคัดเลือกบุคคล เพื่อให้ได้บุคคลที่ดีที่สุด มีความรู้ความสามารถในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามความต้องการของส่วนราชการ  โดยวิธีการทดสอบ  สัมภาษณ์ ตรวจสอบภูมิหลัง  ตรวจสอบอ้างอิง ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ดังนี้
 
3.1   คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ และทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส่ เป็นธรรม ไม่ใช้วิธีไม่สุจริตหรือระบบอุปถัมภ์
  3.2    ใช้กระบวนการคัดเลือกด้วยวิธีการที่พอประมาณไม่สร้างภาระแก่ผู้สมัคร
  3.3   ดำเนินการคัดเลือกด้วยความถูกต้อง เที่ยงตรง เชื่อถือได้ ยุติธรรม โปร่งใส และมีความรับผิดชอบ
  3.4 ตรวจสอบให้มีความถูกต้องตามกฎหมาย และป้องกันไม่ให้มีความไม่รอบคอบในการจ้างงาน

 4. การฝึกอบรมและพัฒนา

การฝึกอบรมและพัฒนา  ส่วนราชการต้องดำเนินการฝึกอบรมและพัฒนาบุคคลด้วยความรอบคอบ  และเพียงพอตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ดังนี้
  4.1 ต้องอบรมและพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะและประสบการณ์ในการทำงานที่เพียงพอ โดยขยายการฝึกอบรมเพิ่งเติมแก่บุคคลที่ทำงานตามกระบวนการที่เป็นอันตรายในการปฏิบัติงาน และให้การคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้เข้ารับการอบรม
  4.2   อบรมตามความจำเป็นและตามความต้องการของส่วนราชการ  ไม่ฟุ่มเฟือย แต่เกิดประโยชน์และคุ่มค่าแก่ส่วนราชการ
  4.3    สร้างองค์ความรู้แก่บุคคลในส่วนราชการอย่างต่อเนื่อง
  4.4    พัฒนาผู้บริหารของส่วนราชการให้มีคุณธรรม  ส่งเสริมความก้าวหน้า  และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เอื้อต่อการทำงาน
 5. การรักษาและใช้ประโยชน์จากบุคคล

และสำหรับในหัวข้อสุดท้าย คือ การรักษาและใช้ประโยชน์จากบุคคล  ให้ส่วนราชการดำเนินการรักษาและใช้ประโยชน์จากบุคลากร  โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มาปรับใช้เพื่อรักษาและใช้ประโยชน์จากบุคคลที่ดี  มีคุณค่า  และมีความรู้ความสามารถให้อยู่ในส่วนราชการ ดังนี้
  5.1  ศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อหาปัจจัยที่ส่งเสริมให้บุคคลอยู่ในส่วนราชการไม่ออกจากงาน  เพื่อวางแนวทางสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีไว้ล่วงหน้า
  5.2 กำหนดนโยบายและแผนงานที่ชัดเจน ในการอบรมพัฒนาบุคคลในส่วนราชการ  และให้มีความก้าวหน้าในการทำงาน  โดยใช้หลักความเป็นธรรม ความเสมอภาค ความโปร่งใส่ เพื่อให้ได้รับความเชื่อถือและการยอมรับจากบุคคลในส่วนราชการ
  5.3     มีระบบการบริหารค่าตอบแทน/สวัสดิการ  และรางวัลที่เป็นธรรม  เพื่อจูงใจให้บุคคลอยู่ในราชการและทำประโยชน์ให้แก่ราชการมีความซื่อสัตย์สุจริต  อุทิศตนให้กับทางราชการ
  5.4   ให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคลในส่วนราชการ เช่น การทำงานโดยผ่านเทคโนโลยี  โดยให้ทำงานที่บ้าน ทำงานวันเสาร์ – วันอาทิตย์ เป็นต้น
 การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มาปรับใช้ในการบริหารจัดการภายในส่วนราชการและการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ  จะเห็นได้ว่าหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  เป็นทั้งวิธีการและเป้าหมายที่ส่วนราชการสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารจัดการภายในส่วนราชการ  และการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐได้อย่างสมบูรณ์  แต่ละส่วนราชการสามารถใช้เงื่อนไขความรู้ (รอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง) และเงื่อนไขคุณธรรม (ซื่อสัตย์ ขยันอดทน มีความเพียร มีสติ มีปัญญา แบ่งปัน) มาใช้เป็นมรรควิธีในการบริหารจัดการ  โดยควบคู่ไปกับการยึดหลักทางสายกลางซึ่งได้แก่ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี มาเป็นองค์ประกอบ  ทั้งนี้เพื่อให้ส่วนราชการต่างๆ สามารถบริหารจัดการได้โดยเกิดความสำเร็จ  มีการพัฒนาอย่างสมดุล ด้วยความมั่นคง ยั่งยืน พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ก้าวทัน สามารถจัดการ และสนองตอบต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ได้อย่างมีสัมฤทธิผล

หลังจากที่ได้เรียนรู้ เรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่านแล้ว  หวังว่าทุกท่านคงจะได้เข้าใจกันในเรื่องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กันอย่างถ่องแท้มากขึ้น เศรษฐกิจพอเพียงนั้น  ไม่ใช่เรื่องของการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว  และก็ไม่ใช่เรื่องของใครผู้ใดผู้หนึ่ง  แต่เป็นเรื่องของพวกเราทุกคน  ซึ่งทุกคนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  มาประยุกต์ใช้ได้หมด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชี้แนะหนทางเพื่อที่จะให้ประเทศไทยได้อยู่รอดปลอดภัย สามารถพึ่งตนเอง  และพร้อมที่จะรับต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าจะต้องประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจอีกกี่หน  ไม่ว่าโลกของเราจะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน หรือมีสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นขอให้ทุกท่านได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เป็นภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เพื่อเตรียมรับความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ

บทสรุป เอลนีโญ/ลานีญา

เอลนีโญ (El Niño) เป็นคำภาษาสเปน แปลว่า บุตรพระคริสต์ หรือพระเยซู เป็นชื่อของกระแสน้ำอุ่นที่ไหลเลียบชายฝั่งทะเลของประเทศเปรูลงไปทางใต้ทุกๆ 2 – 3 ปี โดยเริ่มประมาณช่วงเทศกาลคริสต์มาส  กระแสน้ำอุ่นนี้จะไหลเข้าแทนที่กระแสน้ำเย็นที่อยู่ตามชายฝั่งเปรูนานประมาณ 2 – 3 เดือน และบางครั้งอาจจะยาวนานข้ามปีถัดไป เป็นคาบเวลาที่ไม่แน่นอน  และมีผลทางระบบนิเวศและห่วงลูกโซ่อาหาร ปริมาณปลาน้อย นกกินปลาขาดอาหาร ชาวประมงขาดรายได้ รวมทั้ง เกิดฝนตกและดินถล่มอย่างรุนแรง ในประเทศเปรูและเอกวาดอร์ เอลนีโญเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างการหมุนเวียนของกระแสอากาศ และกระแสน้ำในมหาสมุทรทั้งบนผิวพื้นและใต้มหาสมุทร ปรากฏการณ์เอลนีโญมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “El Niño – Southern Oscillation” หรือเรียกอย่างสั้นๆ ว่า ENSO ซึ่งหมายถึง การเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้สภาวะปกติ
            โดยปกติบริเวณเส้นศูนย์สูตรโลกเหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ลมสินค้าตะวันออก (Eastery trade winds) จะพัดจากประเทศเปรู ชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ไปทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วยกตัวขึ้นบริเวณเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้มีฝนตกมากในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปออสเตรเลียตอนเหนือ กระแสลมสินค้าพัดให้กระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันทางตะวันตกจนมีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลปกติประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร แล้วจมตัวลง กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรซีกเบื้องล่างเข้ามาแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวซีกตะวันออก  นำพาธาตุอาหารจากก้นมหาสมุทรขึ้นมาทำให้ปลาชุกชุม เป็นประโยชน์ต่อนกทะเล และการทำประมงชายฝั่งของประเทศเปรู (ภาพที่ 1)
ภาพที่ 1  สภาวะปกติ
ปรากฏการณ์เอลนีโญ

            เมื่อเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ กระแสลมสินค้าตะวันออกอ่อนกำลัง กระแสลมพื้นผิวเปลี่ยนทิศทาง พัดจากประเทศอินโดนีเซีย และออสเตรเลียตอนเหนือไปทางตะวันออก แล้วยกตัวขึ้นเหนือชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ ก่อให้เกิดฝนตกหนักและแผ่นดินถล่มในประเทศเปรูและเอกวาดอร์  กระแสลมพัดกระแสน้ำอุ่นบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกไปกองรวมกันบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู ทำให้กระแสน้ำเย็นใต้มหาสมุทรไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาได้ ทำให้บริเวณชายฝั่งขาดธาตุอาหารสำหรับปลา และนกทะเล ชาวประมงจึงขาดรายได้  ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ แต่ยังก่อให้เกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และออสเตรเลียตอนเหนือ  การที่เกิดไฟใหม้ป่าอย่างรุนแรงในประเทศอินโดนีเซีย ก็เป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญนั่นเอง (ภาพที่ 2)
ภาพที่ 2  ปรากฏการณ์เอลนีโญ
ปรากฏการณ์ลานีญา 
            ลานีญา (La Niña) แปลว่า บุตรธิดา เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะตรงข้ามกับเอลนีโญ คือมีลักษณะคล้ายคลึงกับสภาวะปกติ แต่ทว่ารุนแรงกว่า  กล่าวคือ กระแสลมสินค้าตะวันออกมีกำลังแรง ทำให้ระดับน้ำทะเลบริเวณทางซีกตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าสภาวะปกติ ลมสินค้ายกตัวเหนือประเทศอินโดนีเซีย ทำให้เกิดฝนตกอย่างหนัก  น้ำเย็นใต้มหาสมุทรยกตัวขึ้นแทนที่กระแสน้ำอุ่นพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกทางซีกตะวันตก ก่อให้เกิดธาตุอาหาร ฝูงปลาชุกชุม ตามบริเวณชายฝั่งประเทศเปรู (ภาพที่ 3)

 ภาพที่ 3  ลานีญา
 เราอาจกล่าวอย่างง่ายๆ ว่า เอลนีโญทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดความแห้งแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ในทางกลับกันลานีญาทำให้เกิดความแห้งแล้งทางตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ และเกิดฝนตกหนักในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ทั้งเอลนีโญและลานีญาเกิดจากความผกผันของกระแสอากาศโลก บริเวณเส้นศูนย์สูตร เหนือมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด  ภาพถ่ายจากดาวเทียมโทเพกซ์/โพซิดอน (NASA) ในภาพที่ 4 แสดงให้เห็นความต่างระดับของน้ำทะเลบนพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก สีขาวแสดงระดับน้ำซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง 14 เซนติเมตร   สีม่วงหรือสีเข้มแสดงระดับน้ำซึ่งต่ำกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ -18 เซนติเมตร  ขณะเกิดลานีญา  - เอลนีโญ


ภาพที่ 4  ระดับน้ำพื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิก

ข้อสอบช่างก่อสร้าง

การขนส่งคอนกรีตจากที่ผสมไปยังสถานที่ก่อสร้างจะต้องกระทำให้เสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน
ก.   30 นาที
ข.   60 นาที
ค.   90 นาที
ง.   100 นาที
ตอบ  ก. 30 นาที ครับ เพราะคอนกรีตเริ่มจะเซ็ตตัวแล้วครับ
มวลรวมหยาบและมวลรวมละเอียดแยกกันโดยใช้อะไรเป็นเกณฑ์
ก.   ตะแกรง #2
ข.   ตะแกรง #3
ค.   ตะแกรง #4
ง.   ตะแกรง #5
ตอบ ค. #4 ครับ ใครที่ยังไม่ทราบกลับไปอ่านซะเรื่องเทคโนโลยีคอนกรีต
ความจำเป็นที่จะใช้ถนนลาดยางกับถนนคอนกรีตอยู่ที่
ก.   ดินที่รองรับ
ข.   ประเภทของถนน
ค.   ปริมาณการจราจร
ง.   น้ำหนักล้อ
ตอบ ก.ดินที่รองรับ ครับ เกี่ยวกับชั้นดินที่ถมเพื่อจะสร้าง
หน่วยน้ำหนักของคอนกรีตเสริมเหล็กมีค่าเท่าใด
ก.   2200 กก/ซม.2
ข.   2400 กก/ซม.2
ค.   3000 กก/ซม.2
ง.   3200 กก/ซม.2
ตอบ ข. 2400 กก/ซม.2
แหล่งที่มาของทรายผสมคอนกรีตโดยส่วนใหญ่คือข้อใด
ก.   ท้องทะเล-มหาสมุทร
ข.   บนบกหรือบ่อทราย
ค.   ตามแม่น้ำ
ง.   ทะเลทราย
ตอบ ค. ตามแม่น้ำ
ส่วนผสมของโครงสร้างควรมีสัดส่วนของปูนซิเมนต์ ทราย หิน เท่าใด
ก.   1:3:5
ข.   1:2:3.5
ค.   1:2:4
ง.   1:3:4
ตอบ ค. 1:2:4
จันทันพราง คือ
ก.   จันทันหัวเสา
ข.   จันทันที่มีไม้ตีปิดปลาย
ค.   จันทันชั่วคราว
ง.   จันทันระหว่างหัวเสา
ตอบ ง. จันทันระหว่างหัวเสา
ลวดผูกเหล็กเสริมคอนกรีตใช้ลวดเบอร์อะไร
ก.   เบอร์ 16
ข.   เบอร์ 18
ค.   เบอร์ 20
ง.   เบอร์ 22
ตอบ  ก. เบอร์ 16
ข้อบัญญัติ กทม. กำหนดไว้ว่า ห้องส้วมต้องมีพื้นที่ภายในไม่น้อยกว่า
ก.   0.80 x 1.20
ข.   0.90 x 1.00
ค.   0.90 x 1.10
ง.   0.85 x 1.10
ตอบ  ข. 0.90 x 1.00
ปูนซิเมนต์ 1 ถุง 50 ก.ก. มีปริมาตรเท่าใด
ก. 0.028 ลบ.ม.
ข. 0.038 ลบ.ม.
ค. 0.019 ลบ.ม.
ง. 1.057 ลบ.ม.
ตอบ ข. 0.038 ลบ.ม.
เหล็ก 1 ตัน ใช้ลวดผูกเหล็กเท่าใด
ก. 20 กก.
ข. 21 กก.
ค. 22 กก.
ง. 23 กก.
ตอบ ก. 20 กก.
เสาตอม่อ หมายถึง ข้อใด
ก. เสาเอก
ข. เสาเข็ม
ค. เสาที่อยู่ตรงกลาง
ง. เสาที่ใช้เป็นฐานราก
ตอบ ง. เสาที่ใช้เป็นฐานราก
ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนต์มีกี่ประเภท
ก. 2 ประเภท
ข. 3 ประเภท
ค. 4 ประเภท
ง. 5 ประเภท
ตอบ ง. 5 ประเภท
การผสมคอนกรีต 1/2/4 ใช้ปูนซิเมนต์กี่กิโลกรัม
ก. 300 กก.
ข. 320 กก.
ค. 350 กก.
ง. 360 กก.
ตอบ ข. 320 กก.
จากคำถามข้อก่อนหน้า ใช้ทรายกี่ ลบ.ม.
ก. 0.45 ลบ.ม.
ข. 0.65 ลบ.ม.
ค. 1.02 ลบ.ม.
ง. 1.25 ลบ.ม.
ตอบ ก. 0.45 ลบ.ม.
กรรมวิธีการบ่มคอนกรีตมีกี่วิธี
ก. 2 วิธี
ข. 3 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 5 วิธี
ตอบ ง. 5 วิธี
การบ่มคอนกรีตเสา คาน พื้น ควรบ่มอย่างน้อยกี่วัน
ก. 3 วัน
ข. 5 วัน
ค. 7 วัน
ง. 14 วัน
ตอบ ค. 7 วัน
กรรมวิธีการผลิตปูนซิเมนต์มีกี่วิธี
ก. 2 วิธี
ข. 3 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 5 วิธี
ตอบ ข. 3 วิธี
เหล็กเส้นผสม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 มม. ยาวกี่เมตร
ก. 8 เมตร
ข. 9 เมตร
ค. 10 เมตร
ง. 11 เมตร
ตอบ ค. 10 เมตร
การต่อเหล็กเสริมมีกี่วิธี
ก. 2 วิธี
ข. 3 วิธี
ค. 4 วิธี
ง. 5 วิธี
ตอบ ก. 2 วิธี
ทางหลวงแผ่นดินมีกี่ประเภท
ก. 3 ประเภท
ข. 4 ประเภท
ค. 5 ประเภท
ง. 6 ประเภท
ตอบ ง. 6 ประเภท
ในการก่อสร้างอาคารสูง 10 เมตรขึ้น จะต้องมีรั้วชั่วคราวสูงไม่น้อยกว่าที่เมตร
ก. 1 เมตร
ข. 1.5 เมตร
ค. 2 เมตร
ง. 2.5 เมตร
ตอบ ค. 2 เมตร

UC win/Road

UC win/Road
UC win/Road เป็นโปรแกรมที่ได้ออกแบบและพัฒนามาจากบริษัท Forum 8 Co.,Ltd. มหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวิศวกรและนักวางแผนมืออาชีพที่นิยมใช้มากเป็นอันดับหนึ่งในประเทศ ญี่ปุ่น โปรแกรม UC win/Road สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ และประโยชน์การใช้งาน

ซึ่งโปรแกรม UC win/Road เป็นโปรแกรมในการจำลองเมืองและชุมชน 3 มิติเสมือนจริงสามารถจำลองเดิน หรือ บินเข้าไปดูได้เองเสมือนจริงได้ทั้งเมือง โดยการนำเอาแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ หรือ GIS มาเป็นพื้นฐาน แล้วสร้างวัตถุ 3 มิติลงไปในผังเมืองนั้น เช่น ทางด่วน ป้ายจราจร อาคาร เป็นต้น

โปรแกรมจะทำการจำลองสภาพหรือบรรยากาศทั้งเมืองให้เสมือน จริงมากยิ่งขึ้น โดยสามารถให้กำหนดเป็นเวลากลางวัน กลางคืน ฝนตก หิมะลง หรือ หมอกลง ทำให้แผนที่ภาพถ่ายที่วางไว้ด้านล่าง มีอาคาร บ้านเรือน หรือ สิ่งปลูกสร้าง และ สภาพอากาศให้ดูได้เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น

จากการจำลองเมืองเสมือนจริงแล้ว เพื่อให้เสมือนความเป็นจริงมากที่สุด โปรแกรม UC win/Road จึงกำหนดให้สามารถสร้างการเคลื่อนไหวของรูปแบบจราจรตามที่กำหนดได้ ทำให้สภาพเมืองนั้นมีความสมจริงมากยิ่งขึ้นและเมื่อได้รูปแบบนี้แล้ว ก็สามารถนำการจำลองเมืองนี้ไปประยุกต์ใช้กับรูปแบบต่างๆได้มากมาย

เช่น ส่งและรับไฟล์เขาไปยังโปรแกรม AutoCAD Civil 3D/ Bentley เพื่อออกแบบถนนได้ต่อ โดยไม่ต้องเสียเวลา ทำให้ผู้ที่นำไปออกแบบสามารถมองเห็นและนำเสนองานออกแบบถนนได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาไปจำลองใหม่อีกครั้ง ซึ่งทั้งยาก ใช้ทักษะมาก และเสียเวลามาก

UC win/Road จึงเป็นโปรแกรมที่สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งงานวิศวกรรม งานป้องกันอุบัติเหตุ งานป้องกันน้ำท่วม งานป้องกันบรรเทาสาธารณะภัย งานฝึกขับขี่รถยนต์ให้ปลอดภัย การวางแผนอพยพเพลิงไหม้อาคาร การจำลองก่อสร้างเมืองหรืออาคาร เป็นต้น

หากท่านต้องการสร้างสถานที่จริงบน คอมพิวเตอร์ แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ จะช่วยให้ท่านทำงานได้ดีกว่าการตัดสินใจที่เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆ