หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
พ.ศ. 2563
___________________________
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 27
แห่งระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
กระทรวงการคลังจึงกำหนดหลักเกณฑ์
และวิธีดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินไว้ดังต่อไปนี้
1.
หลักเกณฑ์นี้เรียกว่า “หลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563”
2.
หลักเกณฑ์นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่
1 พฤศจิกายน 2563 เป็นต้นไป
3.
ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
กรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2556 ประกาศ ณ วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2556
บรรดาหลักเกณฑ์
และคำสั่งอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในหลักเกณฑ์นี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้ง
กับหลักเกณฑ์นี้ ให้ใช้หลักเกณฑ์นี้แทน
4.
ขอบเขตการจ่ายเงินทดรองราชการ
จะต้องเป็นการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีฉุกเฉิน ตามความหมายแห่งระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
5.
การจ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
ให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราดังต่อไปนี้
5.1 ด้านการดำรงชีพ ให้ดำเนินการช่วยเหลือเป็นสิ่งของหรือจ่ายเป็นเงิน
โดยคำนึงถึงสภาพและเหตุการณ์ตามความเหมาะสม ดังนี้
5.1.1 ค่าอาหารจัดเลี้ยง วันละไม่เกิน 3 มื้อ มื้อละไม่เกิน 50 บาท ต่อคน
5.1.2 ค่าถุงยังชีพ
ชุดละไม่เกิน 700 บาท ต่อครอบครัว
5.1.3 ค่าจัดซื้อหรือจัดหาน้ำสำหรับบริโภคและใช้สอยในที่อยู่อาศัย
เท่าที่จ่ายจริง
ตามความจำเป็นจนกว่าเหตุการณ์ประสบภัยพิบัติจะเข้าสู่ภาวะปกติ
5.1.4 ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพเบื้องต้น กรณีที่อยู่อาศัยได้รับความเสียหายทั้งหลัง
เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,800 บาท
5.1.5 ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ
ซึ่งผู้ประสบภัยพิบัติเป็นเจ้าของ
ที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงหลังละไม่เกิน 49,500 บาท
5.1.6 ค่าวัสดุซ่อมแซมหรือสร้างยุ้งข้าว
โรงเรือนสำหรับเก็บพืชผลและคอกสัตว์
ที่ได้รับความเสียหาย เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 5,700 บาท
5.1.7 กรณีที่ผู้ประสบภัยพิบัติเช่าบ้านเรือนของผู้อื่น
และบ้านเช่าเสียหาย
จากภัยพิบัติทั้งหลังหรือเสียหายบางส่วนจนอยู่อาศัยไม่ได้
ให้ช่วยเหลือเป็นค่าเช่าบ้านแก่ผู้ประสบภัยพิบัติ
เท่าที่จ่ายจริงในอัตราครอบครัวละไม่เกินเดือนละ 1,800 บาท เป็นเวลาไม่เกิน
2 เดือน
5.1.8 ค่าดัดแปลงสถานที่สำหรับเป็นที่พักชั่วคราว
เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละ
ไม่เกิน 2,500 บาท หรือค่าผ้าใบหรือผ้าพลาสติกหรือวัสดุอื่น ๆ สำหรับกันแดดกันฝน
เท่าที่จ่ายจริง ครอบครัวละไม่เกิน
1,000 บาท
5.1.9 ค่าใช้จ่ายที่ส่วนราชการจัดหาสาธารณูปโภคในที่พักชั่วคราว
(1) ค่าไฟฟ้า ให้เป็นไปตามที่การไฟฟ้านครหลวงหรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเรียกเก็บ
สำหรับกรณีที่ท้องที่นั้นไม่มีไฟฟ้า ให้จัดอุปกรณ์แสงสว่างอื่น ๆ ทดแทนได้ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น
(2) จัดหาน้ำบริโภคและใช้สอยจากหน่วยงานที่จังหวัดและอำเภอมีอยู่
เช่น การประปาส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง หน่วยดับเพลิงเทศบาล เป็นต้น
หรือจัดซื้ออุปกรณ์บรรจุน้ำตามความจำเป็นของจำนวนผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งการจัดซื้อเพื่อบริโภคใช้สอย
เท่าที่จ่ายจริง
ตามความจำเป็น
(3) จัดสร้างหรือจัดหาห้องน้ำ ห้องส้วม 1 ที่ ต่อ 10 คน เท่าที่จ่ายจริง
เฉลี่ยที่ละไม่เกิน 1,700 บาท
(4) จัดสร้างที่รองรับ ทำลาย หรือกำจัดขยะมูลฝอย เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น
5.1.10 ค่าเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับความเสียหายและไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก
หรือมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพ
กรณีไม่มีเครื่องนุ่งห่มในการดำรงชีพขณะเกิดภัย รายละไม่เกิน 1,100 บาท
5.1.11 ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ
และหรือเงินทุนสำหรับผู้ประสบภัยพิบัติ ที่เป็นอาชีพหลักในการหาเลี้ยงครอบครัวของผู้ประสบภัยพิบัติ
เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 11,400 บาท
5.1.12 ค่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ
(1) กรณีบาดเจ็บสาหัสที่ต้องรักษาในสถานพยาบาลติดต่อกัน
ตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ให้จ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 4,000 บาท
(2) กรณีบาดเจ็บจนถึงขั้นพิการไม่สามารถประกอบอาชีพตามปกติได้
ให้ช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 13,300 บาท
(3) กรณีภัยพิบัติที่เป็นสาธารณภัยขนาดใหญ่หรือรุนแรงเป็นที่สะเทือนขวัญของประชาชนทั่วไป
ให้จ่ายเงินและหรือสิ่งของปลอบขวัญผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่รักษาตัวในสถานพยาบาล
รายละไม่เกิน 2,300 บาท
5.1.13 ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต
รายละไม่เกิน 29,700 บาท และในกรณี ผู้ประสบภัยที่เสียชีวิตเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือเป็นผู้หารายได้เลี้ยงดูครอบครัว
ให้พิจารณาช่วยเหลือ เงินสงเคราะห์ครอบครัวอีกไม่เกิน
29,700 บาท
5.1.14 กรณีอากาศหนาวจัดผิดปกติมีอุณหภูมิต่ำกว่า
8 องศาเซลเซียส
และมีช่วงเวลาอากาศหนาวยาวนานติดต่อกันเกิน 3 วัน
ให้จ่ายค่าจัดซื้อเครื่องกันหนาวสงเคราะห์ประชาชนได้เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน
300 บาท ทั้งนี้ จังหวัดหนึ่งไม่เกินงบประมาณปีละ 1,200,000 บาท
5.1.15 ค่าเครื่องครัวและอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร
ที่สูญหายหรือได้รับ
ความเสียหายและไม่สามารถนำกลับมาใช้ได้อีก เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละไม่เกิน 3,500
บาท
5.1.16 ค่าเครื่องนอน ที่สูญหายหรือได้รับความเสียหายและไม่สามารถ
นำกลับมาใช้ได้อีก
หรือมีความจำเป็นต้องใช้ในการดำรงชีพกรณีไม่มีเครื่องนอนในการดำรงชีพขณะเกิดภัย เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน 1,000
บาท
5.2 ด้านสังคมสงเคราะห์ ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยจัดโครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพระยะสั้นเฉพาะพื้นที่ประสบภัยพิบัติแก่ผู้ประสบภัยเพื่อให้มีรายได้เลี้ยงดูครอบครัว
ในภาวะวิกฤต โดยให้เบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์การฝึกอาชีพ เท่าที่จ่ายจริงคนละไม่เกิน
2,000 บาท
(2) ค่าใช้จ่ายตอบแทนวิทยากร วันละไม่เกิน 500 บาท
ไม่เกิน 10 วัน
(3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานปฏิบัติการฝึกอบรม
เท่าที่จ่ายจริงภายในวงเงิน
ไม่เกิน 10,000 บาท
(4) เงินทุนประกอบอาชีพที่ได้รับการฝึกอบรม
เท่าที่จ่ายจริงครอบครัวละ
ไม่เกิน 4,000 บาท
5.3 ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ดังนี้
5.3.1 จัดหาวัสดุ เคมีภัณฑ์ อาหาร และเวชภัณฑ์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน
เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคน้ำและอาหารที่ปลอดภัย ดังนี้
(1) ค่าวัสดุ เคมีภัณฑ์ สำหรับไปทำความสะอาดบ่อน้ำตื้นของประชาชน บ่อน้ำละไม่เกิน 250 บาท
(2) ค่าน้ำดื่มแก่ครอบครัวที่ขาดแคลนน้ำสะอาดบริโภค
ครอบครัวละ
ไม่เกิน 200 บาท
(3) ค่าอาหารเสริมโปรตีน
และอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายแก่ประชาชนผู้ประสบภัย
เพื่อการฟื้นฟูสภาพร่างกายและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ครอบครัวละไม่เกิน 570
บาท
(4) ค่าวัสดุ เคมีภัณฑ์ สำหรับแจกจ่ายประชาชน เพื่อการปรับปรุง
ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขาภิบาลครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 250 บาท
(5) ค่ายาชุดช่วยเหลือผู้ประสบภัย (8 รายการ)
ราคาตามบัญชีราคา สำหรับหน่วยงานราชการ องค์การเภสัชกรรม
5.3.2 จัดหาวัสดุ
เคมีภัณฑ์ วัสดุวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำหรับไปปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ปรับปรุงสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งการควบคุมป้องกันโรคได้ เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็นและเหมาะสม ดังนี้
(1) ค่ายาและเวชภัณฑ์
สำหรับการรักษาพยาบาลหรือป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
(2) ค่าวัสดุทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อในคน
(3) ค่าวัสดุและชุดทดสอบทางห้องปฏิบัติการในน้ำ
อาหาร และอากาศ
(4) ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการหาเชื้อในคน
(5) ค่าตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการในน้ำ
อาหาร และอากาศ
5.3.3 จัดหาวัสดุควบคุมและป้องกันโรคระบาดในภาวะภัยพิบัติ จัดหายาและเวชภัณฑ์สำหรับไปปฏิบัติงาน การควบคุมป้องกันโรคและการปฏิบัติการด้านการแพทย์เพื่อช่วยเหลือประชาชนในภาวะภัยพิบัติ ได้แก่ ค่าวัสดุเก็บตัวอย่าง น้ำยา และสารเคมีในการเก็บตัวอย่างและวิเคราะห์ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสม
5.4 ด้านการเกษตร ให้ดำเนินการช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติที่ขึ้นทะเบียน
และปรับปรุงทะเบียนกับหน่วยงานที่กำกับดูแลแต่ละด้านของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก่อนเกิดภัยพิบัติแล้วเท่านั้น โดยเบิกจ่ายได้ ดังนี้
5.4.1 ด้านพืช
5.4.1.1 ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่พืชตาย
หรือเสียหาย ตามจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรจริงที่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยคิดจากต้นทุน
การผลิตเฉลี่ย ดังนี้
(1) กรณีพืชอายุสั้นเสียหาย
ให้ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตเฉลี่ย เฉพาะรายการค่าวัสดุ
(2) กรณีไม้ผล ไม้ยืนต้นเสียหาย
ให้ช่วยเหลือต้นทุนการผลิตเฉลี่ย
เฉพาะรายการค่าวัสดุและต้นทุนเฉลี่ยก่อนให้ผลผลิต
5.4.1.2 กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูกได้ถูกหิน ดิน ทราย ไม้ โคลน รวมทั้งซากวัสดุทุกชนิดทับถมจนไม่สามารถใช้เพาะปลูกได้
และหน่วยงานของรัฐไม่สามารถเข้าไปให้ความช่วยเหลือ
กรณีดังกล่าวได้ ให้ช่วยเหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการขุดลอก ขนย้ายหิน ดิน ทราย
ไม้ โคลน รวมทั้งซากวัสดุ
ที่ทับถมพื้นที่แปลงเกษตรกรรม เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกพืชได้ในขนาดพื้นที่ไม่เกิน
5 ไร่
5.4.1.3 กรณีประชาชนมีความจำเป็นต้องขนย้ายปัจจัยการผลิตและผลผลิต ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ
ให้ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการขนย้ายปัจจัยการผลิตและผลผลิต ในอัตราร้อยละ 50
ของปัจจัยการผลิตและผลผลิตของเกษตรกรที่ดำเนินการขนย้าย
5.4.2 ด้านประมง
ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สัตว์น้ำตายหรือสูญหาย
โดยสนับสนุนพันธุ์สัตว์น้ำ
อาหารสัตว์น้ำ วัสดุทางการประมง ได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
5.4.3 ด้านปศุสัตว์
5.4.3.1 ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีที่เป็นการจัดหา
อาหารสัตว์ วัคซีนและเวชภัณฑ์รักษาสัตว์ เพื่อฟื้นฟูสุขภาพสัตว์เลี้ยงและจัดหาอาหารสัตว์ตามราคาท้องตลาด
หรือตามความจำเป็นและเหมาะสม
5.4.3.2 ให้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่สัตว์ตาย
หรือสูญหาย
หรือแปลงหญ้าอาหารสัตว์เสียหายได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
5.4.4 ด้านการเกษตรอื่น
5.4.4.1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการปรับเกลี่ยพื้นที่
การไถพรวน ยกร่อง
การก่อสร้างคันดิน เพื่อการเพาะปลูกพืชหรือประกอบกิจกรรมด้านการเกษตรที่เป็นการบรรเทาปัญหา ความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยพิบัติ
5.4.4.2 ค่าซ่อมแซมอาคารชลประทานและระบบชลประทาน
ให้สามารถใช้งานได้ในช่วงฉุกเฉิน
โดยให้ดำเนินการได้เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการระบายน้ำ
ของเอกชน เพื่อใช้ในการขนย้ายสัตว์เลี้ยงที่ประสบภัย
และที่นำไปสนับสนุนหรือขนส่งพืชหญ้าอาหารสัตว์
หรืออาหารสัตว์ ให้เบิกจ่ายดังนี้
(1) ค่าจ้างเหมารถยนต์และเรือบรรทุกของเอกชน ให้จ่ายเป็นรายวันตามราคาท้องถิ่น
(2) ค่าระวางบรรทุกทางรถไฟ
ให้เบิกจ่ายได้เท่าที่จ่ายจริง ตามความจำเป็น
5.5 ด้านบรรเทาสาธารณภัย ให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ โดยเบิกจ่ายได้
ดังนี้
5.5.1 จัดหาภาชนะรองรับน้ำ เช่น โอ่งซีเมนต์
ถังเหล็กอาบสังกะสี ถังเก็บน้ำ
ค.ส.ล. ถังปูนฉาบเสริมลวด หรือถังเก็บน้ำประเภทอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค
5.5.2 ซ่อมแซมภาชนะรองรับน้ำที่ชำรุดเสียหาย
เพื่อให้สามารถใช้เก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภค
5.5.3 ซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ ซึ่งมิได้อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการ
ให้กระทำได้เฉพาะในกรณีเร่งด่วนจำเป็นเพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดยการซ่อมแซมนั้นต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการที่ได้รับงบประมาณดำเนินการในบริเวณนั้นอยู่แล้ว
สำหรับการซ่อมแซมสิ่งสาธารณประโยชน์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะต้องเป็นกรณีที่งบประมาณเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
ซึ่งตั้งไว้ในปีนั้น ได้ใช้จ่ายหมดแล้ว
และหากไม่ซ่อมแซมจะบังเกิดความเสียหายต่อสิ่งสาธารณประโยชน์
หรือสร้างความเดือดร้อน
แก่ประชาชนโดยส่วนรวม ทั้งนี้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีหนังสือยืนยันข้อมูลดังกล่าวด้วย
สิ่งสาธารณประโยชน์ที่ต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการซ่อมแซม
เกิน 45 วัน ให้ใช้งบประมาณปกติดำเนินการ
สำหรับสะพานหรือถนน
หรือถนนที่มีท่อระบายน้ำที่ได้รับความเสียหาย จนไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ ให้ก่อสร้างสะพานไม้ชั่วคราว
หรือเท่าที่จำเป็น เร่งด่วน
เพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
กรณีในเขตชุมชนที่เกิดภัยพิบัติเป็นระยะเวลานาน
ทำให้ประชาชนได้รับ
ความเดือดร้อนในการสัญจรไปมา ให้จัดทำสะพานไม้ทางเดินชั่วคราวได้
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
ตามความจำเป็น
5.5.4 จ้างเหมากำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ อันได้แก่
สิ่งก่อสร้างสาธารณประโยชน์ที่กีดขวางทางน้ำ
หรือกิ่งไม้ ต้นไม้ เศษสวะ กอไผ่ ฯลฯ ที่อุดช่องทางน้ำเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ ทำให้สิ่งสาธารณประโยชน์ต้านทานน้ำไม่ไหว
เกิดความชำรุดเสียหาย หรือเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน
5.5.5 ค่าจัดหาวัสดุ ได้แก่ กระสอบทราย ดิน ลูกรัง
เสาเข็ม ไม้แบบ เป็นต้น
เพื่อนำไปแก้ไขเหตุการณ์กรณีเร่งด่วนฉุกเฉินจากภัยพิบัติที่จะทำความเสียหายต่อสิ่งสาธารณประโยชน์
หรือความเสียหายต่อประชาชนโดยส่วนรวม เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นและเหมาะสม
5.6.1 ค่าซ่อมแซมครุภัณฑ์
ยานพาหนะ เครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำหรือผลักดันน้ำ เครื่องปั่นไฟ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการกู้ชีพกู้ภัยของทางราชการ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
และเอกชน ที่นำมาช่วยเหลือโดยสมัครใจและไม่คิดมูลค่า ซึ่งชำรุดเสียหายในระหว่างปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ตามความจำเป็นให้อยู่ในสภาพเดิม
เฉพาะกรณีจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้การให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัยสำเร็จลุล่วงไปได้
5.6.2 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น
รวมทั้งค่ากระแสไฟฟ้า สำหรับยานพาหนะ เครื่องจักรกล
เครื่องสูบน้ำหรือผลักดันน้ำ เครื่องปั่นไฟ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการกู้ชีพกู้ภัย
ของทางราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนที่นำมาใช้ปฏิบัติงานช่วยเหลือโดยความสมัครใจ
โดยไม่คิดมูลค่าและคำนึงถึงความจำเป็นและการประหยัด และการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตนเองเป็นสำคัญ
5.6.3 กรณีที่เครื่องสูบน้ำหรือผลักดันน้ำ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล
เครื่องปั่นไฟ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ด้านการกู้ชีพกู้ภัยของทางราชการและเอกชนที่นำมาช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
มีไม่เพียงพอและไม่สามารถขอความร่วมมือจากภาคเอกชนได้
ให้เช่าหรือจ้างเหมาเครื่องสูบน้ำหรือผลักดันน้ำ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล
เครื่องปั่นไฟ ตลอดจนเครื่องมืออุปกรณ์ด้านกู้ชีพกู้ภัย เพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้เท่าที่จำเป็น
เร่งด่วน โดยจ่ายค่าเช่าเป็นรายวันตามราคาท้องถิ่น
5.6.4 ค่าจ้างเหมาหรือจ้างแรงงานแบกหามสิ่งของ
รวมทั้งค่าจ้างเหมาแรงงาน
จัดหีบห่อให้ใช้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการก่อน
ในกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ให้จ้างบุคคลภายนอกได้
ตามจำนวนที่เห็นควร ตามอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามประกาศของกระทรวงแรงงาน
5.6.5 ค่าตอบแทน ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลา
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัย
ให้เบิกจ่ายได้ในกรณี
ที่งบประมาณปกติไม่เพียงพอ
หรือมิได้ตั้งไว้เพื่อการนี้ โดยให้เบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการ สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ออกปฏิบัติงานดังต่อไปนี้ ให้เบิกจ่ายได้ ดังนี้
(1) เจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่องสูบน้ำหรือเครื่องผลักดันน้ำให้เบิกจ่ายได้
2 คน ต่อ 1 จุด ที่ตั้งเครื่องสูบน้ำหรือเครื่องผลักดันน้ำ
(2) เจ้าหน้าที่คนขับรถยนต์บรรทุกเครื่องสูบน้ำ
วัสดุ และครุภัณฑ์ 1 คน
ต่อรถยนต์ 1 คัน
(3) หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
ออกปฏิบัติงานไม่เกิน 10 คน ต่อหน่วยต่อครั้ง
(4) หน่วยสุขศึกษาและประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ ออกปฏิบัติงาน
ไม่เกิน 3 คน ต่อหน่วยต่อครั้ง
(5) หน่วยปฏิบัติงานด้านควบคุมป้องกันโรค
ออกปฏิบัติงานครั้งละ
ไม่เกิน 3 คน
(6) ค่าตอบแทนสำหรับบุคคลภายนอกให้เบิกจ่ายตามอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำตามประกาศของกระทรวงแรงงาน
5.6.6 ค่าอาหารจัดเลี้ยงเจ้าหน้าที่ของทางราชการและผู้มาให้ความช่วยเหลือ
วันละไม่เกิน 3 มื้อ มื้อละไม่เกิน 50 บาทต่อคน ทั้งนี้
เจ้าหน้าที่ของทางราชการและผู้มาให้ความช่วยเหลือ
ต้องไม่ได้รับเงินอื่นใดจากทางราชการอีก
5.6.8 ค่าวัสดุสำนักงานซึ่งเกี่ยวเนื่องในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและค่าวัสดุ
ในการจัดหีบห่อ ค่าจ้างเหมาบริการอื่น ๆ
ที่จำเป็น เช่น เช่าเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
ให้เบิกได้ตามระเบียบของทางราชการ
5.7 กรณีมีความจำเป็น
หากรายการใดมิได้กำหนดให้จ่ายเป็นเงิน ให้อยู่ในดุลยพินิจ
ของผู้มีอำนาจอนุมัติให้การช่วยเหลือพิจารณาให้จ่ายเป็นเงินก็ได้
โดยคำนึงถึงสภาพและเหตุการณ์
ตามความเหมาะสม
6. การให้ความช่วยเหลือข้างต้น
ให้มีการประสานงานกันระหว่างส่วนราชการ หน่วยงานอื่นของรัฐ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เอกชน และองค์กรการกุศลที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้การช่วยเหลือทั่วถึงไม่ซ้ำซ้อนกันและการให้ความช่วยเหลือดังกล่าวให้ถือปฏิบัติเช่นเดียวกับเงินงบประมาณรายจ่ายโดยอนุโลม
7. ให้จังหวัดรายงานผลการปฏิบัติงานให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน
ไปให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและสำนักงานคลังจังหวัดทราบทุก
ๆ 15 วัน จนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ
ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ออกไปตรวจสอบติดตาม ผลการปฏิบัติงานของจังหวัดอีกทางหนึ่งด้วย
8. ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงสาธารณสุข และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์และวิธีการให้ความช่วยเหลือตามข้อ
5 และเสนอต่อกระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ
9. กรณีที่มีความจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือนอกเหนือจากหลักเกณฑ์
และวิธีดำเนินการนี้
ให้ขออนุมัติต่อกระทรวงการคลัง
10. ให้ส่วนราชการที่มีวงเงินทดรองราชการตามระเบียบนี้
แจ้งข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติตามแบบและเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด
11. ในระหว่างที่ยังมิได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามหลักเกณฑ์นี้
ให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
ที่ออกตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๕๖
ไปพลางก่อนจนกว่าจะมีการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยที่ส่วนราชการตามข้อ 8 กำหนด
เพี่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์นี้
ประกาศ ณ วันที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓
(นายจำเริญ โพธิยอด)
รองปลัดกระทรวงการคลัง
หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน
ปฏิบัติราชการแทนปลัดกระทรวงการคลัง