วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

Prism Video Converter = Convert วิดีโอ

Prism Video Converter โปรแกรม Convert วิดีโอ ตัวเล็ก ใช้งานง่าย
 

Prism Video Converter โปรแกรม Convert วิดีโอ ตัวเล็ก ใช้งานง่าย Prism Video Converter 1.40 โปรแกรมแปลงไฟล์หนัง ไฟล์คลิปวิดีโอ จากไฟล์หนังประเภทหนึ่ง ไปเป็นไฟล์หนังอีกประเภทหนึ่ง เช่น หนังจากแผ่น DVD เอามาแปลงเป็นวิดีโอเล็กๆ ไว้ดูกับมือถือที่รองรับไฟล์นามสกุล .mp4 แบบนี้เป็นต้น ทั้งนี้ Prism Video Converterสามารถแปลงไฟล์ได้หลากหลายฟอร์แมตไม่ว่าจะไฟล์ AVI, MPG, VOB, 3gp  และ WMV สำหรับแบ็คอัพข้อมูลหรือเพื่อจะได้เก็บได้ง่ายขึ้น เพราะหลังจากแปลงไฟล์แล้วมันจะเล็กลงมากนั่นเองครับ
สำหรับความโดดเด่นของโปรแกรม Prism Video Converter อยู่ที่ขนาดของมันที่เล็กมากๆ เพียง 311 KB เท่านั้นเอง และหน้าตาโปรแกรมก็ง่ายๆ ไม่มีกราฟิกซับซ้อนให้ปวดหัว ซึ่งผมรับรองครับว่าท่านที่โหลดไปใช้งานแล้วนั้นแทบไม่ต้องอ่านคู่มือเลย เปิดมาปุ๊บก็รู้แล้วว่าจะใช้งานอย่างไร.
prism-video-converter-01
เมื่อทำการติดตั้งโปรแกรมไม่ต้องเลือกซอฟแวร์ทั้งหมดมาลงก็ได้ครับติ๊กถูกเฉพาะ VideoPad Video Editor Software ก็พอ
prism-video-converter-04
หน้าตาโปรแกรมก็ง่ายๆ แบบนี้แหละครับ แทบไม่มีอะไรเลย
prism-video-converter-05
ทดสอบแปลงไฟล์หนังดูนะครับ อันดับแรกกดที่ปุ่ม Add Files แล้วจะได้หน้าต่างใหม่ดังภาพ
จากนั้นไปเลือกหนังที่ต้องการแปลงเป็นไฟล์ชนิดต่างๆ จากฮาร์ดดิสก์ของท่าน
prism-video-converter-06
จากนั้นเลือกชนิดของไฟล์หนังที่ต้องการจะแปลงออกมา
prism-video-converter-11
หากต้องการปรับแต่งระบบการแปลงไฟล์ หรือฟอร์แมตของไฟล์ให้กดที่ปุ่ม Encoder Option นะครับ (สำหรับมือาชีพ)
prism-video-converter-07
จากนั้นก็เริ่มแปลงไฟล์ได้เลยโดยกดที่ปุ่ม Convert (อยู่มุมด้านขวาล่างๆ นะครับ)
prism-video-converter-12
จากนั้นก็รอให้มันแปลงไฟล์จนกว่าจะเสร็จ
prism-video-converter-03
พอเสร็จแล้วก็เปิดด้วยโปรแกรมดูหนังต่างๆ ได้ตามปกติครับ
prism-video-converter-08
ปล. สำหรับท่านที่ต้องการแปลงหนังจากแผ่น DVD ออกมาเป็นหนังนามสกุลต่างๆ สามารถ Add DVD ได้ตรงๆ จากแผ่นเลยนะครับ

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

แผนปฏิบัติืการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ.2553 - 2562

แผนปฏิบัติืการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ.2553 - 2562

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2553-2562 และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เป็นหน่วยประสานงาน กำกับ ดูแลทิศทางการนำแผนปฏิบัติการดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติ และติดตามประเมินผล ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอความเป็นมากระทรวงมหาดไทยรายงานว่า
1. หลังจากเกิดภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียและ แปซิฟิค และประเทศในทวีปแอฟริกาได้ตระหนักถึงภัยจากคลื่นสึนามิ ภัยจากความแห้งแล้ง และภัยจากน้ำท่วมที่สร้างความสูญเสียแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน นานาประเทศ จึงได้มีการประชุมเพื่อลดภัยพิบัติระดับโลกขึ้น ณ เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น (World Conference on Disaster Reduction) ผลการประชุม
ของ 168 ประเทศ มีมติให้จัดทำมาตรการลดภัยพิบัติอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ ค.ศ.2005-2015 (Hyogo Framework for Action 2005-2015 : HFA 2005-2015) หลังจากนั้นได้มีการประชุมของประเทศในทวีปเอเชีย ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (Beijing Action for Disaster Reduction in Asia) ที่ประชุมได้รับหลักการตามกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ ให้ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียจัดทำแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ให้เป็นแผนปฏิบัติการในการสร้างสมรรถนะระดับชาติและระดับชุมชนในการจัดระบบหน้าที่และโครงสร้างต่างๆ สำหรับการแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติ พร้อมทั้งเห็นชอบให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียจัดทำแผนปฏิบัติการระดับชาติ เพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติตามกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ
2. การจัดทำแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของประเทศไทย  ตามกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ (HFA 2005-2015) ได้มีการเตรียมการจากหน่วยงานภาครัฐ คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย โดยความร่วมมือของศูนย์เตรียมพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (Asian Disaster Preparedness Center : ADPC) และได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการจากองค์การยุทธศาสตร์นานาชาติเพื่อการลดภัยพิบัติแห่งสหประชาชาติ (United Nations International Strategy for Disaster Reduction : UNISDR)
3. กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นร่างแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์สำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2552-2561 (Strategic National Action Plan (SNAP) on Disaster Risk Reduction 2009-2018  โดยมีผู้แทนจากทุกภาคส่วน รวม 44 หน่วยงาน จำนวน 140 คน และได้นำข้อคิดเห็นที่ได้รับจากการ
ประชุมดังกล่าวมาปรับ/แก้ไขและจัดทำแผนปฏิบัติการฯ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
3.1 วิสัยทัศน์  ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการให้หน่วยงานทุกภาคส่วน ตั้งแต่หน่วยงานระดับท้องถิ่นถึงหน่วยงานระดับประเทศและประชาชน ดำเนินการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อทำให้ประเทศไทยมีระดับความปลอดภัยเทียบเท่าระดับสากลได้ภายในระยะหนึ่งทศวรรษ (จากปัจจุบันถึง พ.ศ. 2561) และเป็นประเทศผู้นำด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในระดับภูมิภาค
3.2 วัตถุประสงค์
(1) เพื่อยกระดับและสนับสนุนให้มีมาตรฐานความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวให้สูงขึ้นสู่ระดับสากลอย่างยั่งยืน
(2) เพื่อให้ประเทศไทยมีแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในเชิงยุทธศาสตร์ ระยะยาว
(3) เพื่อเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยอย่างชัดเจนในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของประเทศ
(4) เพื่อพัฒนาและเตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของประเทศไทยในระยะยาวตามแนวทางของกรอบดำเนินการเฮียวโกะ
(5) เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนจากระดับท้องถิ่นถึงระดับประเทศมีแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติระยะยาวที่มีทิศทางเดียวกันและเสริมกำลังกันอย่างบูรณาการ
3.3 เป้าหมาย กำหนดทิศทางการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติของประเทศไทยให้เป็นระบบที่บูรณาการและเสริมกำลังกัน โดยให้หน่วยงานทุกภาคส่วนมีแผนปฏิบัติการระยะยาวสอดรับกับแผนปฏิบัติการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติในเชิงยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2552-2561

3.4 ยุทธศาสตร์ของแผน  ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์                 ประเด็นยุทธศาสตร์

1. การป้องกันและลดผลกระทบ           

1.1 การปรับปรุงทบทวนกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.2 การขยายการปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน
1.3 การจัดการระบบข้อมูลสารสนเทศด้านบริหารจัดการภัยพิบัติแห่งชาติ
1.4 การประเมินความเสี่ยงภัยและการจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย
1.5 การพัฒนาแผนหลักและแผนปฏิบัติการด้านการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติแห่งชาติ
1.6 การสร้างความตระหนักแก่ประชาชนและการให้การศึกษาเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
1.7 การวิจัย และพัฒนาเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
1.8 การถ่ายเทความเสี่ยงภัย

2. การเตรียมความพร้อม               

2.1 การเพิ่มพูนขีดความสามารถให้ระบบการแจ้งเตือนภัยและการกระจายข้อมูลข่าวสารระดับชาติ
2.2 การจัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกระดับ
2.3 การฝึกซ้อมแผนทุกระดับ
2.4 การเพิ่มพูนขีดความสามารถด้านการเตรียมและการรับมือภัยพิบัติ
2.5 การสร้างความตระหนัก และการให้การศึกษาระดับชุมชน
2.6 การเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน

3. การบริหารจัดการฉุกเฉิน             

3.1 การจัดตั้งศูนย์บริหารวิกฤตระดับชาติ
3.2 การพัฒนาศักยภาพของระบบการสื่อสารฉุกเฉิน
3.3 การจัดตั้งหน่วยกู้ชีพ/กู้ภัยระดับชาติ
3.4 การประสานงานและการบัญชาการ
3.5 การฝึกอบรม

4. การจัดการหลังเกิดภัย               

4.1 การประเมินความเสียหายเบื้องต้น
4.2 การประเมินความต้องการของผู้ประกันภัย
4.3 จัดทำแผนฟื้นฟูบูรณะ
4.4 ความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติในการฟื้นฟูบูรณะ