| ราชพฤกษ์ หมายถึง ความเป็นใหญ่พร้อมอำนาจวาสนา
คูน หรือ ราชพฤกษ์ ชื่อสามัญเรียก Golden Shower ถือเป็นไม้มงคล เพราะเป็นทั้งสัญลักษณ์ทางศาสนาและเป็นไม้ประจำชาติไทย นิยมปลูกในสวน ตกแต่งริมถนน เพราะความสวยงามของดอกสีเหลืองอร่าม ช่วงออกดอก คือ ระหว่างเดือน ก.พ. - พ.ค. ต้นราชพฤกษ์จะทิ้งใบ แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสดทั้งต้น ราชพฤกษ์ ปลูกได้ดีทั้งดินทั่วไป และริมทะเล แต่มีข้อระวังคือ ไม่ควรปลูกในที่มีระดับ น้ำใต้ดินสูง เพราะจะทำให้รากเน่าได้ อีกข้อควรระวังคือ ไม่ควรปลูกเป็นจำนวนมากๆ ในพื้นที่เดียวกัน เพราะหากมีแมลงประเภทเจาะไชกิ่ง และลำต้น อาจทำให้ตายทั้งกลุ่มได้ ราชพฤกษ์สูง 8 - 15 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่เรียงสลับ มีใบย่อย 3 - 8 คู่ แผ่นใบรูปป้อม รูปไข่ ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามซอกใบ หรือตามกิ่ง ยาว 20 - 45 เซนติเมตร ผลเป็นฝักทรงกระบอก ยาว 20 - 60 เซนติเมตร ชอบแดดจัด กลางแจ้ง น้ำปานกลาง
ประโยชน์ : สามารถใช้รากต้นราชพฤกษ์ ฝนทาแก้กลาก เป็นยาระบายอ่อนๆ รากและแก่นต้นเป็นยาขับพยาธิ เปลือกและไม้ใช้ฟอกหนังได้ และยังใช้ทาแก้ผดผื่นตามร่างกาย ส่วนใบ ใช้ต้มกินเป็นยาระบาย ดอกคูน ไม่ใช่แค่สวยแต่ยังมีคุณสมบัติในการแก้ไขได้ด้วย ทานโดยลวก หรือทานสดๆก็ได้ ฝักคูน ที่สีดำๆยาวๆแตกง่ายๆนั้น เนื้อในฝักมีรสหวาน ทานเป็นยาระบาย และช่วยบรรเทาอาการแน่นหน้าอก แก้ขัดข้อ ด้วยค่ะ |
| ขนุน หมายถึง ให้การเกื้อหนุนผู้อยู่อาศัยให้ร่ำรวย เจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้น
ขนุน ชื่อสามัญเรียก Jackfruit Tree เป็นไม้ยืนต้นสูงกว่า 6 เมตร เรือนต้นทรงไข่ มัน้ำยางข้นเหนียวสีขาว ใบเดี่ยวเรียงแบบสลับ ทรงใบปลายมน เนื้อใบเงามันสีเขียว ดอกออกตามข้อกิ่ง ผลออกตามลำต้น ผลอ่อนมีกลิ่นหอม ผลแก่มีก้านผลจากลำต้น ผลขนาดใหญ่มีน้ำหนักมาก สีเหลือง เป็นผลรวมหลายเมล็ด เนื้อในขนุนสีเหลืองมีกลื่นหอม รสหวาน แต่มียางมาก นิยมรับประทานเป็นผลไม้ ขนุนเป็นผลไม้ตามฤดูกาล ออกหน้าร้อน ขนุนชอบแดดจัด กลางแจ้ง น้ำปานกลาง ดอกขนุนจะออกปีละ 2 ครั้ง ช่วงธ.ค.-ม.ค. และเมษ.-พ.ค.ของทุกปี
ประโยชน์ : ผลสุกใช้ทานเป็นผลไม้รสดี หอม หวานอร่อย ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหารได้ เช่น ตำขนุนที่เป็นอาหารเหนืออันลือชื่อ ส่วนเมล็ดขนุน ต้มสุกแล้วใช้ทานได้ มีรสมันอร่อย เนื้อไม้ขนุน ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้างต่างๆได้ เพราะมีความแข็งพอประมาณ แต่ไม่ทนปลวกนะคะ นอกจากนี้ยังนิยมนำไม้ขนุนไปทำ ครก สาก หวี ระนาด ยังค่ะยังไม่ไหมดประโยชน์ของขนุน รากและแก่นขนุน ให้สีเหลืองจึงสามารถนำมาใช้ย้อมผ้าและแพรไหม ส่วนราก ยังนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข สุดท้ายคือใบ นำมาเผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับกะลามะพร้าวขูดโรยรักษาบาดแผลได้ค่ะ |
| ชัยพฤกษ์ หมายถึง มีโชคชัย มีชัยชนะเหนือศัตรูและอุปสรรคต่างๆ
ชัยพฤกษ์ ชื่อสามัญเรียก Pink Cassia, เป็นพรรณไม้ยืนต้นสูงกว่า 4 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก รูปไข่แกมรูปรี ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู โคนคอดเป็นก้านดอกจำนวนมากออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน ดอกจะสีเข้มกว่ากัลปพฤกษ์ ดอกมีความพิเศษตรงที่ เมื่อบานใหม่ๆจะเป็นสีชมพู แล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้ม พอใกล้ดอกโรยสีดอกจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูอ่อนเกือบขาว ดอกออกตามซอกใบเป็นช่อตามยอด ชอบแดดจัด กลางแจ้ง น้ำปานกลาง
ประโยชน์ : เนื้อในฝักเป็นยาระบายอ่อนๆ ใช้ปลูกประดับในสวนของบ้านที่ต้องมีพื้นที่กว้างสักหน่อย หน้าดอกจะพราวดอกเต็มต้นสวยงาม เหมือนซากุระเมืองไทย |
| ไผ่สีสุก หมายถึง ความสุขกายสบายใจ ไร้ทุกข์โศกโรคภัย
ไผ่สีสุก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Bambusa blumeana เป็นไม้ยืนต้นตระกูลไผ่ เมื่อโตเต็มที่สูงกว่า 10 เมตร ลำปล้องแข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พองออก มีหนามโค้งออกเป็นกลุ่มๆละ 3 อัน ลำต้นมีรูเล็กและเนื้อหนา ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง ขอบใบสาก ใบเล็กมีขนอ่อนๆ ชอบแดดจัด น้ำปานกลางถึงน้อย ไผ่สีสุกนี้ทนแล้งได้ดี
ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นรั้วขอบแนวรอบบ้าน กันลม แบ่งอาณาเขต หน่อไผ่สีสุกเมื่ออยู่ใต้ดินใช้ปรุงอาหารรสดี เมื่อโผล่พ้นดินราว 20-30 ซม. นิยมนำไปทำหน่อไม้ดอง ให้รสเปรี้ยว มีสีขาว เนื้อไม่เปื่อยเหมือนหน่อไม้ชนิดอื่น ในชนบทนิยมใช้ลำไผ่ไปสร้างบ้าน เพราะเนื้อไม้ทีคุณสมบัติแข็วแรง ทนทาน และนำมาทำเครื่องจักสานได้ ไผ่สีสุกยังนิยมนำเยื่อมาทำกระดาษเพราะให้เนื้อเยื่อสูง |
| ทองหลาง หมายถึง เงินทอง ทรัพย์สิน มากมายไม่มีขัดสน
ทองหลาง มี ใบ 2 ชนิด คือ ทองหลางใบเขียว และทองหลางด่าง ซึ่งในที่นี้ก็ถือว่าเป็นนามมงคลทั้ง 2 ชนิด หรืออีกชื่อที่เรียกกันจนดู Hiso ก็คือ ปาริชาต นั่นเอง ส่วนที่นิยมปลูกกันมากได้แก่ ทองหลางด่าง ชื่อสามัญเรียก Variegated Coral มีทั้งดอกส้ม และดอกขาว เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 6 เมตร ผลัดใบในฤดูร้อนเพื่อรับดอก สูง 5 - 10 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม เรือนยอดเป็นพุ่มกลมโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ ใบกลางจะโตกว่าสองใบด้านข้าง ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 30 ? 40 ซ.ม. รูปดอกถั่ว สีแดงเข้ม ออกดอกระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ผลเป็นฝักยาว 15 - 30 ซ.ม. โบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นทองหลางไว้ประจำบ้านจะทำให้มีทองมาก มีความร่ำรวย เพราะทองหลางเป็นไม้มงคลนาม คือมีทองมากมายหลากหลาย ทองหลางยังมีใบสีทองยังมีความสวยงาม ดุจประกายทองสีเหลือง ควรปลูกต้นทองหลางไว้ทางทิศเหนือผู้ปลูกควรเป็นผู้ที่เกิดในปีมะแมเพราะต้น ทองหลางเป็นต้นไม้ประจำปีมะแม และควรปลูกในวันเสาร์เพื่อความเป็นมงคลยิ่งขึ้น ทองหลางด่างชอบแดดจัด กลางแจ้ง น้ำปานกลาง
ประโยชน์ : ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบทองหลางและยอดอ่อน ช่วยขับสมหะ แก้ลมพิษ แก้ตาแดงหรือนำใบมาตำผสมกับข้าวสารช่วยพอกฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน ใบทองหลางเขียว นิยมนำมาทานกับเมี่ยงคำอีกด้วย |
| ทรงบาดาล หมายถึง ความยิ่งใหญ่ มีอำนาจน่าเกรงขาม ร่ำรวยทอง มั่นคง แข็งแรง
ทรงบาดาล ชื่ออื่น ขี้เหล็กบ้าน ขี้เหล็กหวาน สะเกิ้ง สะโก้ง ไม้พุ่มหรือต้นขนาดเล็ก สูงได้ถึง 7 ม. ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกสลับ ใบย่อย 5-10 คู่ รูปไข่หรือรูปไข่แกมขอบขนาน กว้าง 1-2 ซม. ยาว 2.5-4 ซม. โคนและปลายมน หลังใบเรียบ ท้องใบมีขนประปราย ก้านใบสั้น ดอก สีเหลือง ออกเป็นช่อ มี 10-15 ดอก ก้านดอกรวมขนาด 2.5-5 ซม. ดอกย่อยขนาด 2.5-3 ซม. กลีบประดับรูปไข่ ขนาด 4-5 มม. ก้านดอกย่อยขนาด 1-2 ซม.กลีบรองดอก 5 กลีบ สีเขียวอมเหลือง กลีบดอก 5 กลีบ เกสรผู้ 10 อัน เป็นหมัน 3 อัน ผล เป็นฝักแบนเรียบ กว้าง 1-1.5 ซม. ยาว 7-20 ซม. เมื่อแก่จะแตกตามตะเข็บ มีเมล็ด 15-25 เมล็ด ผิวมันเป็นเงา กว้าง 4 มม. ยาว 8 มม. พบทั่วไปในแถบเอเชียเขตร้อน เป็นพืชชอบแดด ในประเทศไทยนิยมปลูกทั่วไป มักพบเห็นตามทางหลวง ที่ปลูกดอกเหลือง 2 ข้างทาง ออกดอกตลอดปี ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง ทนแล้งได้ดี
ประโยชน์ : รากใช้ถอนพิษไข้ |
| พะยูง หมายถึง การพยุงให้ดีขึ้น ในด้านฐานะของผู้อยู่อาศัย
พะยูง หรือ พยุง เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ผลัดใบ สูง 15-25 เมตร มีชื่อสามัญว่า Siamese Rosewood เปลือกสีเทาเรียบ เรือนยอดทรงกลมหรือรูปไข่ ใบ เป็นช่อแบบขนนกปลายใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับจำนวน 7 - 9 ใบ ขนาดกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ท้องใบสีจาง ดอก ขนาดเล็กสีขาว กลิ่นหอมอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อตามง่ามใบ และตามปลายกิ่ง ผล เป็นฝักรูปขอบขนานแบนบางขนาดกว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 4 - 6 เซนติเมตร มีเมล็ด 1 - 4 เมล็ด พะยูงมักพบเห็นในป่าดิบแล้ง และป่าเบญจพรรณชื้น ทั่ว ๆ ไป ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ออกดอกเดือนพ.ค.-ก.ค. ส่วนฝักพะยูงจะแก่ในเดือนก.ค.-ก.ย.
ประโยชน์ : เนื้อไม้สีแดงอมม่วง ถึงแดงเลือดหมูแก เนื้อละเอียด แข็งแรงทนทาน ขัดและชักเงาได้ดี ใช้ทำเครื่องเรือน เกวียน เครื่องกลึงแกะสลัก ทำเครื่องดนตรี เช่น ซอ ขลุ่ย ลูกระนาด |
| กันเกรา หมายถึง ป้องกันภยันตรายต่างๆ และทำให้เสาบ้านมั่นคง
กันเกรา อีกชื่อเรียก ตำเสา หรือมันปลา ชื่อสามัญคือ Common Tembusu เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงใหญ่ ไม่พลัดใบมีลำต้นสูงประมาณ 25 เมตร ทรงต้นเป็นรูปกระบอก เปลือกนอกหยาบสีน้ำตาลปนดำ ใบนั้นเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามกัน มีสีเขียวเข้มและมัน ใบจะหนาและมน โคนและปลายใบจะเรียวแหลม ใบกว้างประมาณ 1-2 นิ้ว ยาว ประมาณ 4 นิ้ว เวลาออกดอกจะออกเป็นช่อ เมื่อเริ่มออกใหม่จะมีสีขาว พอแก่จะมีสีเหลืองจนถึงสีเหลืองแก่ ดอกบานเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้ว โคนกลีบดอกจะเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปแจกันทรงสูงยาวประมาณ 0.5 นิ้ว ปลายดอกแยกออกเป็น 5 แฉก ผลนั้นตอนอ่อน ๆ จะเป็นสีส้ม แต่พอแก่แล้วจะเป็นสีแดงเข้ม ลักษณะผลจะเป็นลูกกลม ๆ กว้างประมาณ 6 มม. เหมาะจะเป็นไม้ให้ร่มเงาหรือไม้บังลม ดอกมีกลิ่นหอม ชอบแดดจัด น้ำปานกลาง
ประโยชน์ : เพราะเนื้อไม้ที่มีสีเหลืองอ่อนๆ และเสี้ยนตรงเนื้อละเอียด เนื้อไม้เหนียว แข็ง ทนทาน จึงนิยมในการทำเสาเรือน แก่นมีรสฝาดใช้เป็นยาบำรุงธาตุ แก้อาการแน่นหน้าอก เปลือกใช้บำรุงเลือด แก้ผิวหนังพุพอง |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น