วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภาษาทางกฎหมาย มาตรา ทวิ ตรี

ภาษาทางกฎหมาย
          ภาษาแต่ละภาษาแม้จะเป็นภาษาเดียวกัน ถ้าใช้ต่างเรื่องต่างวงการจะมีรูปแบบการใช้ศัพท์ สำนวน การอ่าน ที่ต่างกันออกไปเป็นแบบอย่างเฉพาะของวงการนั้น ๆ เช่น ภาษาทางกฎหมาย ซึ่งผู้ที่อยู่นอกวงการนั้นอาจจะไม่เข้าใจ ซึ่งใคร่ขอยกลักษณะพิเศษของภาษาทางกฎหมายบางอย่างที่ใช้ต่างจากทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน พอเป็นเครื่องประดับความรู้ของคนนอกวงการ
          ในการเขียนบทความทั่ว ๆ ไป ข้อความที่เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีเนื้อความขยายต่อเนื่องสอดคล้องจนจบความที่เริ่มต้นเขียนที่บรรทัดใหม่และร่นจากแนวขอบซ้ายทั่วไป ข้อความแต่ละตอนที่มีลักษณะเช่นนั้น เราเรียกว่า ย่อหน้า” (ผู้นิยมภาษาต่างประเทศจะใช้ว่า พารากราฟแทน) ในบทความหรือเรื่อง ๆ หนึ่งจะมีกี่ย่อหน้าก็ได้สุดแต่เนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ เมื่อจำเป็นต้องอ้างถึงเนื้อความที่อยู่ในตอนใด ก็จะระบุลำดับเลขโดยนับเรียงจากย่อหน้าแรกไปตามลำดับ ตามจำนวนย่อหน้าที่ปรากฏในบทหรือเฉพาะหน้านั้น ๆ เช่น ย่อหน้าหนึ่ง ย่อหน้าสอง ฯลฯ แต่ภาษาทางกฎหมายมีคำที่ใช้ต่างออกไป คือใช้ว่า วรรคซึ่งมีความหมายคนละอย่างกับวรรคในภาษาทั่วไปที่หมายถึงการเว้นช่องระหว่างคำหรือข้อความ ดังตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ดังนี้
          มาตรา ๑๓๖ คณะกรรมการเลือกตั้ง ประกอบด้วย และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
          ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง

          “วรรคตามภาษากฎหมายจึงหมายถึง ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย
          ถ้าในมาตราใดมีรายละเอียดที่แยกเป็นข้อย่อย ๆ โดยมีตัวเลขกำกับในวงเล็บที่แต่ละข้อ ดังนี้
          “มาตรา ๑๓๗ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
          (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
          (๒)
          (๓)
                                        ฯลฯ

การอ่านตัวเลขข้อย่อยของมาตรา ภาษาทางกฎหมายจะใช้ว่าอนุมาตรา (หนึ่ง/สอง/สาม …)” ไม่อ่านว่า ข้อหนึ่ง (สองสาม …)”
          พระราชบัญญัติบางฉบับในบางมาตราอาจมีตัวเลขมาตราเดียวกันหลายมาตราแต่มีคำบาลีหรือสันสกฤตที่มีความหมายบอกลำดับเลขที่ต่อท้ายตัวเลขมาตรานั้น ๆ เช่น มาตรา ๒๑๑ ทวิ” “มาตรา ๒๑๑ ตรีเรียงต่อ ๆ กันไป สุดแต่จะมีจำนวนเท่าใด แล้วจึงเป็นไปตามลำดับเลขมาตราถัดต่อไป
          เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังจากที่พระราชบัญญัติเรื่องนั้นประกาศใช้ไปแล้ว และส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นเรื่องเดียวกับความในมาตราของพระราชบัญญัติฉบับเดิมซึ่งควรนำมารวมไว้ที่เดียวกับมาตราเดิม ส่วนที่เพิ่มเติมใหม่ที่จัดเรียงต่อจากมาตราเดิมเป็นอันดับแรกจะใช้ว่า มาตรา ทวิหากมีมาตราที่เพิ่มเติมมากกว่านั้นก็จะเป็น ตรี, … จัตวา ฯลฯ กำกับต่อท้ายเลขมาตราของพระราชบัญญัติฉบับเดิมไปจนหมดส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องแก้ไขเลขมาตราในลำดับถัดไปใหม่หมดทั้งฉบับ ซึ่งจะเป็นเรื่องยุ่งยากและทำให้สับสนใจเรื่องการอ้างมาตราของพระราชบัญญัตินั้น ๆ ที่เคยอ้างไว้แล้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายได้
          เมื่อครั้งที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ในมาตรา ๒๑๑ มีมาตราที่แทรกเพิ่มเติมซึ่งต่อเนื่องกับมาตรา ๒๑๑ มีจำนวนถึง ๑๙ มาตราโดยมีคำบาลีและสันสกฤตที่มีความหมายบอกลำดับที่เลขมาตราดังนี้ ทวิ, ตรี, จัตวา, เบญจ, , สัตต, อัฏฐ, นว, ทศ, เอกาทศ, ทวาทศ, เตรส, จตุทศ, ปัณรส, โสฬส, สัตตรส, อัฏฐารส และเอกูนวีสติ โดยที่คำบาลีและสันสกฤตบางคำไม่เป็นที่คุ้นเคย ทำให้มีผู้สนใจใคร่ทราบว่า คำบาลีและสันสกฤตนั้นอ่านว่าอย่างไรและมีความหมายว่าอย่างไร และเหตุใดจึงต้องมีคำเหล่านั้นกำกับ ซึ่งข้อสงสัยข้อหลังนี้ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว
         ราชบัณฑิตยสถานได้รับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ ขอความอนุเคราะห์ให้ราชบัณฑิตยสถานแปลคำบาลีสันสกฤตที่ระบุลำดับที่เลขมาตราที่เพิ่มขึ้นใหม่ ตั้งแต่ลำดับที่ ๙ ถึงลำดับที่ ๑๙ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานเห็นควรให้ใช้ดังนี้
          “คำว่า นว (นะวะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๙ ตรงกับคำภาษาละตินว่า novem
          คำว่า ทศ (ทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๐ ตรงกับคำภาษาละตินว่า decem
          คำว่า เอกาทศ (เอกาทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๑ ตรงกับคำภาษาละตินว่า undecim
          คำว่า ทวาทศ (ทะวาทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๒ ตรงกับคำภาษาละตินว่า duodecim
          คำว่า เตรส (เตระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๓ ตรงกับคำภาษาละตินว่า tredecim
          คำว่า จตุทศ (จะตุทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๔ ตรงกับคำภาษาละตินว่า quattuordecim
          คำว่า ปัณรส (ปันนะระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๕ ตรงกับคำภาษาละตินว่า quindecim
          คำว่า โสฬส (โสละสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๖ ตรงกับคำภาษาละตินว่า sedecim
          คำว่า สัตตรส (สัดตะระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๗ ตรงกับคำภาษาละตินว่า septemdecim
          คำว่า อัฏฐารส (อัดถาระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๘ ตรงกับคำภาษาละตินว่า duodeviginti"

          ส่วนคำระบุลำดับเลขที่มาตราที่เพิ่มใหม่ตั้งแต่ ๒-๘ นั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยแปลไว้แล้ว ดังนี้
          คำว่า ทวิ [(ทวิ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๒] ตรงกับคำภาษาละตินว่า bis
          คำว่า ตรี [(ตฺรี) ภาษาสันสกฤตแปลเป็นภาษาไทยว่า ๓] ตรงกับคำภาษาละตินว่า ter
          คำว่า จัตวา [(จัดตะวา) ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยว่า ๔] ตรงกับคำภาษาละตินว่า quarter
          คำว่า เบญจ [(เบนจะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๕] ตรงกับคำภาษาละตินว่า quinque
          คำว่า ฉ [(ฉะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๖] ตรงกับคำภาษาละตินว่า sex
          คำว่า สัตต [(สัดตะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๗] ตรงกับคำภาษาละตินว่า septum
          คำว่า อัฏฐ [(อัดถะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๘] ตรงกับคำภาษาละตินว่า octo

           อนึ่ง ในการแปลคำลำดับเลขมาตราที่เพิ่มขึ้นใหม่ที่ใช้คำบาลีสันสกฤตนั้นนิยมใช้คำภาษาละตินที่เขียนในรูปภาษาอังกฤษดังข้างต้น ไม่ใช้คำภาษาอังกฤษโดยตรง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น