วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ภาษาทางกฎหมาย มาตรา ทวิ ตรี

ภาษาทางกฎหมาย
          ภาษาแต่ละภาษาแม้จะเป็นภาษาเดียวกัน ถ้าใช้ต่างเรื่องต่างวงการจะมีรูปแบบการใช้ศัพท์ สำนวน การอ่าน ที่ต่างกันออกไปเป็นแบบอย่างเฉพาะของวงการนั้น ๆ เช่น ภาษาทางกฎหมาย ซึ่งผู้ที่อยู่นอกวงการนั้นอาจจะไม่เข้าใจ ซึ่งใคร่ขอยกลักษณะพิเศษของภาษาทางกฎหมายบางอย่างที่ใช้ต่างจากทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจำวัน พอเป็นเครื่องประดับความรู้ของคนนอกวงการ
          ในการเขียนบทความทั่ว ๆ ไป ข้อความที่เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีเนื้อความขยายต่อเนื่องสอดคล้องจนจบความที่เริ่มต้นเขียนที่บรรทัดใหม่และร่นจากแนวขอบซ้ายทั่วไป ข้อความแต่ละตอนที่มีลักษณะเช่นนั้น เราเรียกว่า ย่อหน้า” (ผู้นิยมภาษาต่างประเทศจะใช้ว่า พารากราฟแทน) ในบทความหรือเรื่อง ๆ หนึ่งจะมีกี่ย่อหน้าก็ได้สุดแต่เนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ เมื่อจำเป็นต้องอ้างถึงเนื้อความที่อยู่ในตอนใด ก็จะระบุลำดับเลขโดยนับเรียงจากย่อหน้าแรกไปตามลำดับ ตามจำนวนย่อหน้าที่ปรากฏในบทหรือเฉพาะหน้านั้น ๆ เช่น ย่อหน้าหนึ่ง ย่อหน้าสอง ฯลฯ แต่ภาษาทางกฎหมายมีคำที่ใช้ต่างออกไป คือใช้ว่า วรรคซึ่งมีความหมายคนละอย่างกับวรรคในภาษาทั่วไปที่หมายถึงการเว้นช่องระหว่างคำหรือข้อความ ดังตัวอย่างจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ ดังนี้
          มาตรา ๑๓๖ คณะกรรมการเลือกตั้ง ประกอบด้วย และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์
          ให้ประธานวุฒิสภาลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการตามวรรคหนึ่ง

          “วรรคตามภาษากฎหมายจึงหมายถึง ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย
          ถ้าในมาตราใดมีรายละเอียดที่แยกเป็นข้อย่อย ๆ โดยมีตัวเลขกำกับในวงเล็บที่แต่ละข้อ ดังนี้
          “มาตรา ๑๓๗ กรรมการการเลือกตั้งต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
          (๑) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
          (๒)
          (๓)
                                        ฯลฯ

การอ่านตัวเลขข้อย่อยของมาตรา ภาษาทางกฎหมายจะใช้ว่าอนุมาตรา (หนึ่ง/สอง/สาม …)” ไม่อ่านว่า ข้อหนึ่ง (สองสาม …)”
          พระราชบัญญัติบางฉบับในบางมาตราอาจมีตัวเลขมาตราเดียวกันหลายมาตราแต่มีคำบาลีหรือสันสกฤตที่มีความหมายบอกลำดับเลขที่ต่อท้ายตัวเลขมาตรานั้น ๆ เช่น มาตรา ๒๑๑ ทวิ” “มาตรา ๒๑๑ ตรีเรียงต่อ ๆ กันไป สุดแต่จะมีจำนวนเท่าใด แล้วจึงเป็นไปตามลำดับเลขมาตราถัดต่อไป
          เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากพระราชบัญญัติฉบับนั้นมีการแก้ไขเพิ่มเติมภายหลังจากที่พระราชบัญญัติเรื่องนั้นประกาศใช้ไปแล้ว และส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นเป็นเรื่องเดียวกับความในมาตราของพระราชบัญญัติฉบับเดิมซึ่งควรนำมารวมไว้ที่เดียวกับมาตราเดิม ส่วนที่เพิ่มเติมใหม่ที่จัดเรียงต่อจากมาตราเดิมเป็นอันดับแรกจะใช้ว่า มาตรา ทวิหากมีมาตราที่เพิ่มเติมมากกว่านั้นก็จะเป็น ตรี, … จัตวา ฯลฯ กำกับต่อท้ายเลขมาตราของพระราชบัญญัติฉบับเดิมไปจนหมดส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องแก้ไขเลขมาตราในลำดับถัดไปใหม่หมดทั้งฉบับ ซึ่งจะเป็นเรื่องยุ่งยากและทำให้สับสนใจเรื่องการอ้างมาตราของพระราชบัญญัตินั้น ๆ ที่เคยอ้างไว้แล้ว ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายได้
          เมื่อครั้งที่รัฐสภากำลังพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ในมาตรา ๒๑๑ มีมาตราที่แทรกเพิ่มเติมซึ่งต่อเนื่องกับมาตรา ๒๑๑ มีจำนวนถึง ๑๙ มาตราโดยมีคำบาลีและสันสกฤตที่มีความหมายบอกลำดับที่เลขมาตราดังนี้ ทวิ, ตรี, จัตวา, เบญจ, , สัตต, อัฏฐ, นว, ทศ, เอกาทศ, ทวาทศ, เตรส, จตุทศ, ปัณรส, โสฬส, สัตตรส, อัฏฐารส และเอกูนวีสติ โดยที่คำบาลีและสันสกฤตบางคำไม่เป็นที่คุ้นเคย ทำให้มีผู้สนใจใคร่ทราบว่า คำบาลีและสันสกฤตนั้นอ่านว่าอย่างไรและมีความหมายว่าอย่างไร และเหตุใดจึงต้องมีคำเหล่านั้นกำกับ ซึ่งข้อสงสัยข้อหลังนี้ได้อธิบายไว้ข้างต้นแล้ว
         ราชบัณฑิตยสถานได้รับหนังสือจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๐ ขอความอนุเคราะห์ให้ราชบัณฑิตยสถานแปลคำบาลีสันสกฤตที่ระบุลำดับที่เลขมาตราที่เพิ่มขึ้นใหม่ ตั้งแต่ลำดับที่ ๙ ถึงลำดับที่ ๑๙ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานเห็นควรให้ใช้ดังนี้
          “คำว่า นว (นะวะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๙ ตรงกับคำภาษาละตินว่า novem
          คำว่า ทศ (ทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๐ ตรงกับคำภาษาละตินว่า decem
          คำว่า เอกาทศ (เอกาทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๑ ตรงกับคำภาษาละตินว่า undecim
          คำว่า ทวาทศ (ทะวาทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๒ ตรงกับคำภาษาละตินว่า duodecim
          คำว่า เตรส (เตระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๓ ตรงกับคำภาษาละตินว่า tredecim
          คำว่า จตุทศ (จะตุทะสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๔ ตรงกับคำภาษาละตินว่า quattuordecim
          คำว่า ปัณรส (ปันนะระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๕ ตรงกับคำภาษาละตินว่า quindecim
          คำว่า โสฬส (โสละสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๖ ตรงกับคำภาษาละตินว่า sedecim
          คำว่า สัตตรส (สัดตะระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๗ ตรงกับคำภาษาละตินว่า septemdecim
          คำว่า อัฏฐารส (อัดถาระสะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๑๘ ตรงกับคำภาษาละตินว่า duodeviginti"

          ส่วนคำระบุลำดับเลขที่มาตราที่เพิ่มใหม่ตั้งแต่ ๒-๘ นั้น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เคยแปลไว้แล้ว ดังนี้
          คำว่า ทวิ [(ทวิ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๒] ตรงกับคำภาษาละตินว่า bis
          คำว่า ตรี [(ตฺรี) ภาษาสันสกฤตแปลเป็นภาษาไทยว่า ๓] ตรงกับคำภาษาละตินว่า ter
          คำว่า จัตวา [(จัดตะวา) ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาไทยว่า ๔] ตรงกับคำภาษาละตินว่า quarter
          คำว่า เบญจ [(เบนจะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๕] ตรงกับคำภาษาละตินว่า quinque
          คำว่า ฉ [(ฉะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๖] ตรงกับคำภาษาละตินว่า sex
          คำว่า สัตต [(สัดตะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๗] ตรงกับคำภาษาละตินว่า septum
          คำว่า อัฏฐ [(อัดถะ) ภาษาบาลีแปลเป็นภาษาไทยว่า ๘] ตรงกับคำภาษาละตินว่า octo

           อนึ่ง ในการแปลคำลำดับเลขมาตราที่เพิ่มขึ้นใหม่ที่ใช้คำบาลีสันสกฤตนั้นนิยมใช้คำภาษาละตินที่เขียนในรูปภาษาอังกฤษดังข้างต้น ไม่ใช้คำภาษาอังกฤษโดยตรง

วันพุธที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2556

หลักธรรมของนักบริหาร

หลักธรรมของนักบริหาร
หลักธรรม  หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น  ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล  นับถึงปัจจุบันเป็นเวลา  2540  กว่าปีแล้ว  แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่องดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าวเป็นความจริงที่  สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า  สัจธรรม ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้จริงอยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือและปฏิบัติอย่างมากมาย  ซึ่งได้นำเสนอไว้บ้าง  เรื่องที่สำคัญดังต่อไปนี้
พรหมวิหาร  4
         เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา)  ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ
1.  เมตตา      ความรักใคร่  ปราถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
2.  กรุณา      ความสงสาร  คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3.  มุทิตา      ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
4.  อุเบกขา   วางตนเป็นกลาง  ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ  มีทุกข์
อคติ 4
         อคติ  หมายความว่า  การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี 4 ประการ
1.  ฉันทาคติ    ลำเอียงเพราะรักใคร่
2.  โทสาคติ     ลำเอียงเพราะโกรธ
3.  โมหาคติ     ลำเอียงเพราะเขลา
4.  ภยาคติ       ลำเอียงเพราะกลัว
         อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่  ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม
สังคหวัตถุ 4 
       เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง  และหมู่คณะก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
       1.ทาน                  ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
       2.ปิยวาจา          เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
       3.อัตถจริยา        ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์
       4.สมานนัตตตา   วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน
อิทธิบาท 4
       เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ
             1.ฉันทะ     ความพึงพอใจในงาน
       2.วิริยะ      ความขยันมั่นเพียร
       3.จิตตะ     ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน
       4.วิมังสา   ไตร่ตรองหาเหตุผล
ทศพิธราชธรรม  10  ประการ
       เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาลแด่นักบริหาร  เช่น
สรรพสามิตจังหวัด  สรรพสามิตอำเภอ  ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้
         หลักทศพิธราชธรรม  10  ประการ  มีอยู่ดังนี้
1. ทาน      คือ การให้ปัน  ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2. ศีล        ได้แก่ การสำรวม  กาย  วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3. บริจาค  ได้แก่  การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้อื่น
                                หรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4. อาชวะ   ได้แก่  ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
                5. มัทวะ     ได้แก่  ความมีอัธยาศัยดีงาม  ละมุนละไม  อ่อนโยน สุภาพ
6. ตบะ       ได้แก่  การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7. อโกรธะ  ได้แก่  ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8. อวิหิงสา ได้แก่  การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9. ขันติ      ได้แก่  ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย  วาจา  ใจ  ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้แก่  การธำรงค์รักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม

จังหวัดชุมพร สรุป ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ 2556 ข้อมูล ณ 16 ตุลาคม 2556

สรุป 2556
ที่ประเภทภัยจำนวน / เดือนที่เกิดภัยมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมเมษายนพฤษภาคมมิถุนายนกรกฎาคมสิงหาคม กันยายน ตุลาคมพฤศจิกายนธันวาคมรวม
1จำนวนครั้งที่ประกาศ อุทกภัย6 ครั้ง            1                -            -             -                  -               -                  1             -                   3         -                    -                1                 6  
2จำนวนครั้งที่ประกาศ วาตภัย43 ครั้ง           -                    1           4          10                 1              6              12             -                   5           1                  -                3               43  
3จำนวนครั้งที่ประกาศ อัคคีภัย22 ครั้ง            3                  2           3             6                 4              2               -               -                  -           -                    -                2               22  
4จำนวนครั้งที่ประกาศ ภัยอื่นๆ0 ครั้ง           -                  -            -             -                  -               -                 -               -                  -           -                    -              -                  -    
5จำนวนครั้งที่ประกาศ ยุติภัย2 ครั้ง           -                  -            -             -                  -               -                 -               -                  -           -                     1              1                 2  
6จำนวนครั้งที่ประกาศ ยุติช่วยเหลือ0 ครั้ง           -                  -            -             -                  -               -                 -               -                  -           -                    -              -                  -    
  73                            73 ฉบับ

จังหวัดชุมพร สรุปประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 2555

สรุป 2555
ที่ประเภทภัยจำนวน / เดือนที่เกิดภัยมกราคมกุมภาพันธ์มีนาคมเมษายนพฤษภาคมมิถุนายนกรกฎาคมสิงหาคม กันยายน ตุลาคมพฤศจิกายนธันวาคมรวม
1จำนวนครั้งที่ประกาศ อุทกภัย24 ครั้ง          10                -            -             -                  -                2               -               -                  -           -                     9              3               24  
2จำนวนครั้งที่ประกาศ วาตภัย54 ครั้ง            1                -           12          10               11              5                2              3                -             2                   6              2               54  
3จำนวนครั้งที่ประกาศ อัคคีภัย38 ครั้ง            4                  1           2             4                 5              2                5              6                 4           2                  -                3               38  
4จำนวนครั้งที่ประกาศ ภัยอื่นๆ1 ครั้ง           -                  -            -             -                  -               -                 -               -                  -           -                     1            -                   1  
5จำนวนครั้งที่ประกาศ ยุติภัย4 ครั้ง            1                -            -             -                  -               -                 -               -                  -           -                     2              1                 4  
6จำนวนครั้งที่ประกาศ ยุติช่วยเหลือ0 ครั้ง           -                  -            -             -                  -               -                 -               -                  -           -                    -              -                  -    
  121                         121 ฉบับ