วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554






ภาพแสดงการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินแบบหนึ่ง

การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน หรือที่เราเรียกว่า โฮโดรโปนิกส์ ( Hydroponics )
ในการปลูกพืชโดยปกติทั่วๆ ไปมักจะมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงต่างๆ มากมาย ซึ่งปัญหาส่วนหนึ่งมาจากดินที่เราใช้ปลูก การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องโรคต่างๆ ทำให้ได้ผลผลิตสูง มีคุณภาพ ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สามารถวางแผนการปลูกได้ กำหนดปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือความต้องการของตลาดได้ดีกว่า ที่สำคัญในขณะนี้ก็คือสามารถขายได้ราคา เทคโนโลยีการปลูกพืชไม่ใช้ดิน ตรงกับคำในภาษาอังกฤษคือ Hydroponics โดย W.F.Gericke มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เป็นคนตั้งขึ้นจากคำในภาษากรีก 2 คำคือ Hydro แปลว่า น้ำ (Water) และ Ponos แปลว่า ทำงานหรือแรงงาน (Labor) รวมกันเป็น การทำงานที่เกี่ยวกับน้ำ (Water Working) เขาเป็นคนแรกที่นำเทคนิคการปลูกพืชแบบนี้ไประยุกต์ใช้เพื่อปลูกพืชเป็นการค้นในราวต้นศตวรรษที่ 19 จากการทดลองของเขาพบว่าวิธีนี้สามารถปลูกพืชได้เกือบทุกชนิด นอกจากจะผลิตพืชได้มากแล้วยังสามารถใช้ปลูกพืชได้ในพื้นที่ที่ไม่มีดินเหมาะสมต่อการปลูกพืช เช่น ในสภาพที่มีแต่หินบนหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งทหารอเมริกันได้ใช้วิธีนี้ปลูกพืชผักเพื่อรับประทานสดได้ทุกวัน โดยเฉพาะที่โซฟุ (Chofu) ประเทศญี่ปุ่นจากนั้นการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จึงแพร่หลายไปยังประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
การปลูกพืชไม่ใช้ดินอาจแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ การปลูกพืชโดยให้ส่วนของรากแช่อยู่ในสารละลายธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชโดยตรง หรือปลูกบนวัสดุอื่นที่ไม่ใช่ดินและรดด้วยสารละลายธาตุอาหารหรือน้ำปุ๋ย วัสดุที่ใช้ปลูกพืชอาจจะเป็นสารอนินทรีย์ เช่น กรวด ทราย หิน ที่ได้จากธรรมชาติหรือที่มนุษย์ทำขึ้นมา เช่น เพอร์ไลท์ (Perlite) เวอร์มิคิวไลท์ (Vermiculite) ร็อกวูล (Rockwool) หรือสารอินทรีย์ เช่น
พีท (Peat) มอส (Moss) ขี้เลื่อย เปลือกไม้ เปลือกมะพร้าวสับ ขุยมะพร้าว แกลบสดและถ่านแกลบ เป็นต้น

ข้อดีและข้อเสียของการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
เนื่องจากการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์มีการจัดปัจจัยต่าง ๆ เช่น น้ำ แร่ธาตุ แสงอุณหภูมิให้แก่พืชอย่างเหมาะสม พืชจึงเจริญเติบโตเร็ว และให้ผลผลิตมากสม่ำเสมอ สะอาด มีคุณภาพดี ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี สามารถปลูกพืชได้ในพื้นที่ไม่มีดิน หรือมีดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกพืช การใช้น้ำใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้แรงงานน้อย การควบคุมโรค แมลงศัตรูพืชทำให้ง่ายกว่า ข้อเสียมักจะเป็นเรื่องการลงทุนในระยะแรก มีการลงทุนสูง แต่ในระยะยาวนับว่าน่าลงทุนเพราะความต้องการในตลาดปัจจุบันมีแนวโน้มการบริโภคที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้นทุกวัน เราจะสังเกตเห็นได้ว่า ราคาผักทั่วไปในตลาดสดและราคาผักที่ปลูกแบบไม่ใช้ดินมีราคาที่แตกต่างกันมาก
ตัวอย่างการปลูกพืชไม่ใช้ดินจากโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม
การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน (Hydroponics ) ของนักเรียนโรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม นักเรียนได้ทำการปลูกคะน้าโดยปลูกในสารละลายที่มีสารอาหารผสมอยู่ แบบของกระบะที่ใช้ปลูกมีรายละเอียดดังรูป

ภาพแสดงผังระบบการปลูกโดยใช้สารละลาย


จากผังด้านบนเป็นการนำเหล็กสี่เหลี่ยมมาทำเป็นกระบะยาว 2.4 เมตร กว้าง1.2 เมตร มีขาตั้งให้กระบะสูงจากพื้นประมาณ 80 เซนติเมตร และใช้พลาสติกมาปู เดินท่อสร้างระบบน้ำ ตัวกระบะด้านบนมีปริมาตรน้ำประมาณ 200 ลิตร ส่วนถังสีฟ้าที่วางอยู่ใต้โต๊ะมีปริมาตร 200 ลิตรเช่นเดียวกัน เท่ากับในระบบมีน้ำทั้งมด 400ลิตร ทั้งนี้เราจำเป็นต้องทราบขนาดความจุของน้ำทั้งระบบเพื่อใช้ในการคำนวณการใส่สารอาหารในภายหลัง

ภาพแสดงรายละเอียดส่วนต่างๆของกระบะ

ส่วนประกอบในถังขนาด 200 ลิตร

มีท่อแยกเพื่ออัดอ๊อกซิเจนลงไปในน้ำ


รายละเอียดการทำข้อต่อสามทาง

ทางน้ำเข้าในกระบะ

ทางน้ำเข้าเดินมาจากถังด้านล่าง
กำลังเจาะรูเพื่อติดตั้งท่อทางออก
เมื่อปูพลาสติกและติดตั้งท่อเรียบร้อยแล้ว
ประกอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้วกำลังเติมน้ำ

เมื่อระบบเรียบร้อยก็เดินเครื่องได้เลย
ต้นกล้าที่เตรียมไว้อายุ 2 สัปดาห์

อันนี้เตรียมไว้สำหรับปลูกในถาดแบบแช่
ทำการตรวจสภาพน้ำ

น้องรวีภัทรกำลังเติมปุ๋ยน้ำ
สาธิตการใช้เครื่องวัดสภาพน้ำ
อธิบายอยู่พักเดียวก็เริ่มเกาะกลุ่มกันเหนียวแน่นขึ้น
น้องๆช่วยกันนำต้นกล้ามาใส่ลงในแผ่นโฟมที่เจาะรูไว้แล้ว

ทางขวาของรูปเป็นการปลูกแบบแช่ในถาดพลาสติก
ช่วยกันทำเข้า...เงินกำลังจะหมุนวน...(มาหาเรา)
ภาพประทับใจ..เห็นท่านอาจารย์มองดูศิษย์ด้วยรอยยิ้มอย่างมีความสุข
ปลายท่อน้ำไหลมาจากถังสีฟ้าใต้กระบะ

ท่อระบายน้ำลงไปถังสีฟ้าใต้กระบะ
สภาพต้นกล้าที่จัดวางเรียบร้อยแล้ว
นี่เป็นการปลูกแบบแช่มีการติดตั้งเครื่องปั้มให้อากาศแทรกตัวลงในสารละลาย
เบื้องหลังความสำเร็จ...คณะอาจารย์และศิษย์ถ่ายรูปร่วมกัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น